ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หมอแล็ป หรือ เทคนิคการแพทย์ คืออาชีพอะไร?


        นักเทคนิคการแพทย์ (medical technologist) คือบุคคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่อยู่ภายในห้องปฏิบัติการ หรือ ห้องแล็ปของโรงพยาบาล โดยนำสิ่งส่งตรวจจากคนไข้ เช่น เลือด ปัสสาวะ รวมถึงน้ำเจาะไขสันหลังด้วย และใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการวิเคราะห์หาความผิดปกติ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ (พวกตรวจเลือด ไขมัน น้ำตาล นั้นแหละ) ไปใช้ประโยชน์ในการประเมินสุขภาพ การวินิจฉัยโรค รวมถึงการทำนายความรุนแรงของโรคและความผิดปกติ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 ผลการวิเคราะห์จากเทคนิคการแพทย์มีประโยชน์อย่างไร
    หลายคนอาจนึกภาพไม่ออกว่าผลการตรวจที่ได้มีประโยชน์อย่างไร ได้ช่วยเหลือคนไข้บ้างหรือไม่ มีความสำคัญแค่ไหน จะขอยกตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้

      -การตรวจสารเคมีในเลือด เช่น น้ำตาล ไขมัน >> ช่วยวินิจฉัยโรคว่าเป็นหรือไม่เป็นโรคหรือมีความเสี่ยง เช่นน้ำตาลในเลือดสูง ก็เสี่ยงที่จะเป็นเบาเหวาน ระดับไขันสูงก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบตัน
      -การตรวจพวกเม็ดเลือด เช่น เม็ดเลือดแดง/ขาว ตรวจหาชนิดฮีโมโกลบิล >> วินิจฉัยโรคทางโลหิต เช่น ทาลัสซีเมีย โลหิตจางชนิดอื่นๆ รวมทั้ง G6-P-D
      -การตรวจหาการติดเชื้อไวรัส >> HIV และไวรัสตับอักเสบ
      -การตรวจการติดเชื้อแบคทีเรีย >> เช่น ชนิดของเชื้อในกระแสเลือด หรือวัณโรคในเสมหะ 

      จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า ก่อนที่หมอวินิจฉัยว่าผู้ป่วยนั้นเป็นโรคอะไร ติดเชื้ออะไร หมอก็ต้องรอผลการตรวจจากนักเทคนิคการแพทย์อย่างเรานี้แหละครับ ดังนั้นการทำงานของเราก็เป็นส่วนอย่างมากในการช่วยเหลือผู้ป่วยเช่นกันครับ เพียงแต่เราไม่ค่อยเป็นที่รู้จักและไม่ค่อยได้พบผู้ป่วยเท่านั้นเอง

ทำอย่างไรถึงจะได้เป็นนักเทคนิคการแพทย์
     น้องๆ ที่สนใจจะเรียนในสาขางานเทคนิคการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายสถาบันด้วยกันที่เปิดสอนในสาขาวิชานี้ ซึ่งในแต่ละสถาบันก็จะอยู่ในคณะต่างกัน บ้างก็คณะสหเวชศาสตร์ บ้างก็คณะเทคนิคการแพทย์ เมื่อเราเลือกสถาบันได้แล้วก็ไปหาข้อมูลมาครับว่า สถานบันนั้นรับระบบไหนมาบ้าง บางที่ก็อาจจะเป็นสอบตรงเกือบทั้งหมด 


เทคนิคการแพทย์เรียนอะไรบ้าง
ปี 1,2 จะเป็นการเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไปเพราะเราจะจบวุฒิ วิทยาศาสตร์บันทิฑ ในช่วงนี้ก็จะมีวิชาเลือกให้เรียนหาความรู้ตามที่เราต้องการไปก่อน
ปี 3,4 ก็เข้าสู่วิชาชีพแล้วว ในช่วงนี้ก็จะทำให้เราทราบว่า นักเทคนิคการแพทย์นี้เหมาะกับตัวเราเองหรือเปล่า โดยวิชาเฉพาะที่เรียนประกอบไปด้วย
  1. โลหิตวิทยา (hematology)
  2. เคมีคลินิก (clinical chemistry)
  3. ภูมิคุ้มกันวิทยา (immunology)
  4. ตรวจสารน้ำในร่างกาย (body fluid)
  5. ธนาคารเลือด (blood bank)
  6. แบคทีเรีย (clinical bacteria)
  7. ปรสิตสิทยา (clinical parasite)
  8. ไวรัสวิทยา (virology)
  9. ฝึกงานตามโรงพยาบาลต่างๆ

จบไปทำงานอะไรได้บ้าง - ตกงานหรือเปล่า
ในปัจจุบันเทคนิคการแพทย์ยังเป็นที่ต้องการครับ และแนวโน้มในอนาคตก็ต้องเพิ่มขึ้น จากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้มีห้องปฏิบัตการเอกชนที่ให้บริการตรวจหาความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น แม้กระทั้งโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทั้งรัฐและเอกชน ยังต้องใช้บริการห้องปฏิบัติการเอกชน ที่มีการลงทุน และนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา


นักเทคนิคการแพทย์ทำงานอะไรได้บ้าง? ขอแบ่งเป็นข้อ ๆ ดังนี้ (ตามประสบการณ์ที่พบที่เจอมาครับ)


  1. ทำงานในห้องแล็ป รพ. ตรงนี้เงินเดือน 15,000 + ค่าใบประกอบ + ค่าขึ้นเวร 
  2. ห้องแล็ป รพ. เอกชน  เหมือนกับโรงพยาบาลรัฐ เพียงแต่ฐานเงินเดือน และค่าตอบแทนอาจสูงกว่านิดหน่อยครับ
  3. พนักงานขายเครื่องมือแพทย์ทางห้องปฏิบัติการ หรือทางการแพทย์อื่น ๆ 
  4. product specialist ผู้คอยให้ความรู้ นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปเสนอให้กับผู้ประกอบวิชาชีพใน โรงพยาบาล
   
    นักเทคนิคการแพทย์ทำหน้าที่อยู่หลังฉากของวงการแพทย์ไทยมานาน น้อยคนนักที่จะรู้จักว่าเราคือใคร มีความสำคัญอย่างไร แต่วงการนักเทคนิคการแพทย์กับเป็นวงการที่มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และต้องขยันหาความรู้ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้มีมีความพร้อมกับยุคสมัยมาตลอด มีทั้งบุคคลากรที่ทำหน้าที่ให้บริการ และผู้นำเสนอเทคโนโลยี กับพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ และประชาชน เราหวังว่าผู้ที่ได้อ่านบทความนี้จะได้รู้จักนักเทคนิคการแพทย์เพิ่มมากขึ้นครับ



เทคนิคการแพทย์คืออะไร เทคนิคการแพทย์ทำงานอะไร เทคนิคการแพทย์คือใคร
  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

การงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือดทำอย่างไร

การงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด (Fasting before blood tests)           ในปัจจุบันการตรวจเลือดเป็นวิธีพื้นฐานทางการแพทย์ที่จะใช้ในการวินิจฉัย ประเมิน และติดตามการรักษาโรค   ซึ่งในการตรวจเลือดบางรายการเช่น น้ำตาลและไขมันนั้น สารอาหารที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้ค่าการตรวจเลือดผิดพลาดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการงดน้ำ และอาหารข้ามคืนก่อนที่จะดำเนินการเจาะเลือดเพื่อตรวจในห้องปฏิบัติการ   โดยคำถามที่มักพบสำหรับผู้ป่วยที่อาจไม่ทราบมาก่อนว่าต้องงดอย่างไร ระยะเวลาเท่าไหร่ ทำไมบางครั้งอดในระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน หรือบางครั้งไม่ต้องอดอาหารเลย ซึ่งทั้งหมดมีคำตอบให้ในบทความนี้ครับ           วิธีปฏิบัติสำหรับการงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด           การอด หรืองดอาหาร หมายถึงห้ามกินอาหารชนิดใด ๆ เลย รวมถึงลูกอม น้ำหวาน น้ำผลไม้ กาแฟ และอื่นๆ ที่มีรสชาติ สิ่งเดียวที่สามารถทานได้คือ น้ำเปล่า เท่านั้นครับ เพราะสารอาหารเหล่านี้จะไปรบกวนการตรวจ และอาจทำให้ผลการวิเคราะห์ผิดพลาดไป ส่งผลต่อการวินิจฉัย และการรักษาโดยตรงครับ เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติตามหลักการอย่างถูกต้องนะค

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran