ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul


Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า Leukocyte alkaline phosphatase (LAP) ใน LR


Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด transition ระหว่างโครโมโซมคู่ที่ 9 กับ 22  หรือเขียนเป็น t(9,22) เรียกโครโมโซมที่ผิดปกตินี้ว่า Philadelphia chromosome ทำให้พบยีน BCR/ABL gene บนโครโทโซมแท่งนี้ โดยยีนนี้จะผลิตโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งส่งผลต่อกระบวนควบคุมการเจริญเติบโต และสสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ในผู้ป่วย CML มีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาเป็นจำนวนมากในเลือด ซึ่งเม็ดเลือดส่วนใหญ่ก็สามารถเจริญไปเป็นตัวเต็มวัยได้และส่วนมากเป็นเม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophil ทำให้การวินิจฉัยจากเสมียร์เลือดนั้นทำได้ง่ายกว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดฉับพลันมากครับ อย่างไรก็ตามเสมียร์เลือดของผู้ป่วย CML จะมีลักษณะที่คล้ายกันกับ Leukemoid Reaction จากที่ได้กล่าวไว้แล้ว



ข้อแตกต่างกันระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)
                1.Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  score ของ CML จะมีค่าต่ำเพระเซลล์เม็ดเลือดที่เพิ่มจำนวนมากนั้นเป็นเซลล์ที่ผิดปกติทำหน้าที่ไม่ได้
                2.Blood Smear พบว่า Leukemoid Reaction เม็ดเลือดขาวส่วนมากนั้นเป็น Neutrophil เพราะเป็นการตอบสนองต่อการติดเชื้อเท่านั้นครับ ส่วน CML เรายังคงพบ Basophil และ Eosinophil ได้บ้างครับ เพราะเป็นความผิดปกติทั้งสาย myeloid
                3.Red Blood Cells และ Platelet เหตุผลเหมือนข้อสองนะครับ Leukemoid reaction เป็นภาวะตอบสนองต่อการติดเชื้อเท่านั้นครับ ดังนั้น RBCs และ Platelets จะมีค่าที่ปกติครับ ส่วน CML พบว่า RBCs นั้นมีค่าต่ำ ผู้ป่วยจะเป็นภาวะโลหิตจาง(anemia) และ Platelets นั้นจะมีค่าสูงครับ
สุดท้ายนี้ การตรวจหา Ph chromosome นั้นจะค่อนข้างแน่นอนกว่าการวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามมีการพบว่า ในผู้ป่วย CML บางคนถึงแม้ว่าจะมี BCR/ABL ยีนอยู่แต่ก็ไม่พบว่ามี Philadelphia chromosome ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าการกลายพันธ์ในลักษณะอื่น ๆ ก็สามารถทำให้เกิด CML ได้เช่นกันครับ


แหล่งอ้างอิง

https://www.cancer.org/cancer/chronic-myeloid-leukemia/causes-risks-prevention/what-causes.html


ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia(CML)
Leukemoid Reaction#Leukemoid Reaction#Leukemoid Reaction คืออะไร
Chronic myeloid leukemia(CML)#Chronic myeloid leukemia(CML)# CML คืออะไร

ความคิดเห็น

  1. Irrespective of receiving daily oral or future injectable depot therapies, these require health care visits for medication and monitoring of safety and response. If patients are treated early enough, before a lot of immune system damage has occurred, life expectancy is close to normal, as long as they remain on successful treatment. However, when patients stop therapy, virus rebounds to high levels in most patients, sometimes associated with severe illness because i have gone through this and even an increased risk of death. The aim of “cure”is ongoing but i still do believe my government made millions of ARV drugs instead of finding a cure. for ongoing therapy and monitoring. ARV alone cannot cure HIV as among the cells that are infected are very long-living CD4 memory cells and possibly other cells that act as long-term reservoirs. HIV can hide in these cells without being detected by the body’s immune system. Therefore even when ART completely blocks subsequent rounds of infection of cells, reservoirs that have been infected before therapy initiation persist and from these reservoirs HIV rebounds if therapy is stopped. “Cure” could either mean an eradication cure, which means to completely rid the body of reservoir virus or a functional HIV cure, where HIV may remain in reservoir cells but rebound to high levels is prevented after therapy interruption.Dr Itua Herbal Medicine makes me believes there is a hope for people suffering from,Parkinson's disease,Schizophrenia,Lung Cancer,Breast Cancer,Lupus,Lymne Disease,psoriasis,Colo-Rectal Cancer,Blood Cancer,Prostate Cancer,siva,Epilepsy Dupuytren's disease,Desmoplastic small-round-cell tumor Diabetes ,Coeliac disease,Brain Tumor,Fibromyalgia,Alzheimer's disease,Adrenocortical carcinoma Infectious mononucleosis. .Asthma,Allergic diseases.Hiv_ Aids,Herpe ,Copd,Glaucoma., Cataracts,Macular degeneration,Cardiovascular disease,Chronic Myelo ,Lung disease,Enlarged prostate,Osteoporosis,Dementia.(measles, tetanus, whooping cough, tuberculosis, polio and diphtheria),Chronic Diarrhea,Hpv,All Cancer Types,Diabetes,Hepatitis, I read about him online how he cure Tasha and Tara so i contacted him on drituaherbalcenter@gmail.com / . even talked on whatsapps +2348149277967 believe me it was easy i drank his herbal medicine for two weeks and i was cured just like that isn't Dr Itua a wonder man? Yes he is! I thank him so much so i will advise if you are suffering from one of those diseases Pls do contact him he's a nice man.

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)             โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว (long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน             กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย (monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน (NH 3 ) หมู่คาร์บอกซิล (COO - ) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ท