นักเทคนิคการแพทย์ (medical technologist) คือบุคคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่อยู่ภายในห้องปฏิบัติการ หรือ ห้องแล็ปของโรงพยาบาล โดยนำสิ่งส่งตรวจจากคนไข้ เช่น เลือด ปัสสาวะ รวมถึงน้ำเจาะไขสันหลังด้วย และใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการวิเคราะห์หาความผิดปกติ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ (พวกตรวจเลือด ไขมัน น้ำตาล นั้นแหละ) ไปใช้ประโยชน์ในการประเมินสุขภาพ การวินิจฉัยโรค รวมถึงการทำนายความรุนแรงของโรคและความผิดปกติ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ผลการวิเคราะห์จากเทคนิคการแพทย์มีประโยชน์อย่างไร
หลายคนอาจนึกภาพไม่ออกว่าผลการตรวจที่ได้มีประโยชน์อย่างไร ได้ช่วยเหลือคนไข้บ้างหรือไม่ มีความสำคัญแค่ไหน จะขอยกตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้
-การตรวจสารเคมีในเลือด เช่น น้ำตาล ไขมัน >> ช่วยวินิจฉัยโรคว่าเป็นหรือไม่เป็นโรคหรือมีความเสี่ยง เช่นน้ำตาลในเลือดสูง ก็เสี่ยงที่จะเป็นเบาเหวาน ระดับไขันสูงก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบตัน
-การตรวจพวกเม็ดเลือด เช่น เม็ดเลือดแดง/ขาว ตรวจหาชนิดฮีโมโกลบิล >> วินิจฉัยโรคทางโลหิต เช่น ทาลัสซีเมีย โลหิตจางชนิดอื่นๆ รวมทั้ง G6-P-D
-การตรวจหาการติดเชื้อไวรัส >> HIV และไวรัสตับอักเสบ
-การตรวจการติดเชื้อแบคทีเรีย >> เช่น ชนิดของเชื้อในกระแสเลือด หรือวัณโรคในเสมหะ
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า ก่อนที่หมอวินิจฉัยว่าผู้ป่วยนั้นเป็นโรคอะไร ติดเชื้ออะไร หมอก็ต้องรอผลการตรวจจากนักเทคนิคการแพทย์อย่างเรานี้แหละครับ ดังนั้นการทำงานของเราก็เป็นส่วนอย่างมากในการช่วยเหลือผู้ป่วยเช่นกันครับ เพียงแต่เราไม่ค่อยเป็นที่รู้จักและไม่ค่อยได้พบผู้ป่วยเท่านั้นเอง
ทำอย่างไรถึงจะได้เป็นนักเทคนิคการแพทย์
น้องๆ ที่สนใจจะเรียนในสาขางานเทคนิคการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายสถาบันด้วยกันที่เปิดสอนในสาขาวิชานี้ ซึ่งในแต่ละสถาบันก็จะอยู่ในคณะต่างกัน บ้างก็คณะสหเวชศาสตร์ บ้างก็คณะเทคนิคการแพทย์ เมื่อเราเลือกสถาบันได้แล้วก็ไปหาข้อมูลมาครับว่า สถานบันนั้นรับระบบไหนมาบ้าง บางที่ก็อาจจะเป็นสอบตรงเกือบทั้งหมด
เทคนิคการแพทย์เรียนอะไรบ้าง
ปี 1,2 จะเป็นการเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไปเพราะเราจะจบวุฒิ วิทยาศาสตร์บันทิฑ ในช่วงนี้ก็จะมีวิชาเลือกให้เรียนหาความรู้ตามที่เราต้องการไปก่อน
ปี 3,4 ก็เข้าสู่วิชาชีพแล้วว ในช่วงนี้ก็จะทำให้เราทราบว่า นักเทคนิคการแพทย์นี้เหมาะกับตัวเราเองหรือเปล่า โดยวิชาเฉพาะที่เรียนประกอบไปด้วย
จบไปทำงานอะไรได้บ้าง - ตกงานหรือเปล่า
ในปัจจุบันเทคนิคการแพทย์ยังเป็นที่ต้องการครับ และแนวโน้มในอนาคตก็ต้องเพิ่มขึ้น จากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้มีห้องปฏิบัตการเอกชนที่ให้บริการตรวจหาความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น แม้กระทั้งโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทั้งรัฐและเอกชน ยังต้องใช้บริการห้องปฏิบัติการเอกชน ที่มีการลงทุน และนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา
นักเทคนิคการแพทย์ทำหน้าที่อยู่หลังฉากของวงการแพทย์ไทยมานาน น้อยคนนักที่จะรู้จักว่าเราคือใคร มีความสำคัญอย่างไร แต่วงการนักเทคนิคการแพทย์กับเป็นวงการที่มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และต้องขยันหาความรู้ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้มีมีความพร้อมกับยุคสมัยมาตลอด มีทั้งบุคคลากรที่ทำหน้าที่ให้บริการ และผู้นำเสนอเทคโนโลยี กับพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ และประชาชน เราหวังว่าผู้ที่ได้อ่านบทความนี้จะได้รู้จักนักเทคนิคการแพทย์เพิ่มมากขึ้นครับ
ปี 1,2 จะเป็นการเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไปเพราะเราจะจบวุฒิ วิทยาศาสตร์บันทิฑ ในช่วงนี้ก็จะมีวิชาเลือกให้เรียนหาความรู้ตามที่เราต้องการไปก่อน
ปี 3,4 ก็เข้าสู่วิชาชีพแล้วว ในช่วงนี้ก็จะทำให้เราทราบว่า นักเทคนิคการแพทย์นี้เหมาะกับตัวเราเองหรือเปล่า โดยวิชาเฉพาะที่เรียนประกอบไปด้วย
- โลหิตวิทยา (hematology)
- เคมีคลินิก (clinical chemistry)
- ภูมิคุ้มกันวิทยา (immunology)
- ตรวจสารน้ำในร่างกาย (body fluid)
- ธนาคารเลือด (blood bank)
- แบคทีเรีย (clinical bacteria)
- ปรสิตสิทยา (clinical parasite)
- ไวรัสวิทยา (virology)
- ฝึกงานตามโรงพยาบาลต่างๆ
จบไปทำงานอะไรได้บ้าง - ตกงานหรือเปล่า
ในปัจจุบันเทคนิคการแพทย์ยังเป็นที่ต้องการครับ และแนวโน้มในอนาคตก็ต้องเพิ่มขึ้น จากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้มีห้องปฏิบัตการเอกชนที่ให้บริการตรวจหาความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น แม้กระทั้งโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทั้งรัฐและเอกชน ยังต้องใช้บริการห้องปฏิบัติการเอกชน ที่มีการลงทุน และนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา
นักเทคนิคการแพทย์ทำงานอะไรได้บ้าง? ขอแบ่งเป็นข้อ ๆ ดังนี้ (ตามประสบการณ์ที่พบที่เจอมาครับ)
- ทำงานในห้องแล็ป รพ. ตรงนี้เงินเดือน 15,000 + ค่าใบประกอบ + ค่าขึ้นเวร
- ห้องแล็ป รพ. เอกชน เหมือนกับโรงพยาบาลรัฐ เพียงแต่ฐานเงินเดือน และค่าตอบแทนอาจสูงกว่านิดหน่อยครับ
- พนักงานขายเครื่องมือแพทย์ทางห้องปฏิบัติการ หรือทางการแพทย์อื่น ๆ
- product specialist ผู้คอยให้ความรู้ นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปเสนอให้กับผู้ประกอบวิชาชีพใน โรงพยาบาล
นักเทคนิคการแพทย์ทำหน้าที่อยู่หลังฉากของวงการแพทย์ไทยมานาน น้อยคนนักที่จะรู้จักว่าเราคือใคร มีความสำคัญอย่างไร แต่วงการนักเทคนิคการแพทย์กับเป็นวงการที่มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และต้องขยันหาความรู้ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้มีมีความพร้อมกับยุคสมัยมาตลอด มีทั้งบุคคลากรที่ทำหน้าที่ให้บริการ และผู้นำเสนอเทคโนโลยี กับพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ และประชาชน เราหวังว่าผู้ที่ได้อ่านบทความนี้จะได้รู้จักนักเทคนิคการแพทย์เพิ่มมากขึ้นครับ
เทคนิคการแพทย์คืออะไร เทคนิคการแพทย์ทำงานอะไร เทคนิคการแพทย์คือใคร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น