ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ โรค (diseases)

เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (hMPV)

เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (hMPV) ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (Human Metapneumovirus, hMPV) เป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม Paramyxoviridae ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหัดและโรคหัดเยอรมัน โดย hMPV ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2001 และได้รับการยอมรับว่าเป็นสาเหตุสำคัญของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในมนุษย์ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาการของการติดเชื้อ hMPV อาการของการติดเชื้อ hMPV มักจะคล้ายคลึงกับการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่หรือ RSV (Respiratory Syncytial Virus) โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการดังนี้: - ไข้: อาจมีไข้สูงหรือไข้ต่ำ - ไอ: ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ - น้ำมูก: น้ำมูกใสหรือข้น - เจ็บคอ: อาจรู้สึกเจ็บหรือระคายเคืองที่ลำคอ - หายใจลำบาก: ในบางกรณี อาจมีอาการหายใจลำบากหรือเสียงหวีดขณะหายใจ - ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ: อาจรู้สึกไม่สบายตัวทั่วไป โดยทั่วไปแล้ว อาการจะเริ่มปรากฏภายใน 3-7 วันหลังจากได้รับเชื้อ และมักจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ในการฟื้นตัว แต่ในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังหรือผู้สูงอายุ อาการอาจรุนแรงขึ้นและต้องการการดูแลทางการแพทย์ การแพร่กระจายขอ...

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2 virus) หรือโควิด

โรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด (COVID-19) คือ โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ โคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ Severe Acute Respiratory Syndrome-Coronavirus-2 ( SARS-CoV-2 ) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในกลุ่มไวรัสโคโรนา ที่สามารถก่อโรคได้ตั้งแต่ไข้หวัดที่มีอาการธรรมดาไปจนถึงอาการรุนแรง ตัวอย่างของไวรัสในกลุ่มโคโรนาได้แก่   Middle East Respiratory Syndrome หรือ MERS-CoV ที่เคยระบาดในไทยก่อนหน้านี้  และ  Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS-CoV) ที่เป็นสายพันธุ์ที่มีมาก่อน  ไวรัส COVID-19 หรือ SARS-CoV-2 มีลักษณะทางชีววิทยาที่สำคัญดังนี้: โครงสร้างทางชีววิทยา • จีโนม: SARS-CoV-2 มีจีโนมเป็น RNA ขนาดประมาณ 29,903 คู่เบส ซึ่งมีลำดับพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกับไวรัส SARS-CoV ร้อยละ 79.57 และกับไวรัสที่พบในค้างคาว (RatG13) ร้อยละ 96.11 • โปรตีนโครงสร้าง: ไวรัสประกอบด้วยโปรตีนโครงสร้างหลัก 4 ชนิด ได้แก่: • โปรตีนหนาม (Spike protein): ทำหน้าที่ในการยึดเกาะและเข้าสู่เซลล์เจ้าบ้าน โดยจับกับตัวรับ ACE2 บนเยื่อหุ้มเซลล์...

ไวรัสตับอักเสบบี และการตรวจหาเชื้อและภูมิต่อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B blood tests)

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)      ไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตับชนิดรุนแรงที่พบบ่อยที่สุดในโลกโดยมากกว่า 2 พันล้านคนหรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลกมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และในทุกปีมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสูงถึง 1 ล้านคนถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะมีวิธีป้องกันและรักษาการติดเชื้อไวรัสนี้แล้วก็ตาม การระบาดของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะเป็นในลักษณะ silent epidemic เพราะคนส่วนจะไม่แสดงอาการผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อ หรือมีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง (chronically infected) ทำให้คนกลุ่มนี้มีการแพร่เชื้อไปสุ่คนอื่นโดยที่ไม่รู้ตัว      ไวรัสตับอักเสบบีเป็นไวรัสที่ติดต่อผ่านทางเลือด และสารคัดหลั่งต่าง ๆ (body fluids) ซึ่งเกิดจากความเสี่ยงจากการสัมผัสเลือด การมีเพศสัมพันธุ์แบบไม่ป้องกัน การใช้สารเสพติดผ่านเข็มที่ไม่สะอาดหรือมีการใช้ซ้ำ และยังสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ตอนตั้งครรภ์ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามไวรัสตับอักเสบบีนั้นมีวิธีป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนในผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน ซึ่งในปัจจุบันเราใช้วิธีการตรวจเลือด (blood test) เพื่อวินิจฉัยว่าในตั...

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) คืออะไร?

               โรคเบาหวานเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในประชากร โดยพบประมาณ 1-3% ของประชากรไทยและส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ โดยโรคเบาหวานนั้นเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในร่างกาย(เลือด)ได้อย่างปกติ ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ คือมี  ค่าน้ำตาลหลังอดอาหารมาแล้ว 8 ชั่วโมง หรือ Fasting blood glucose มากกว่า 100 mg/dL            ระดับน้ำตาลในเลือดถูกควบคุมโดยการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน(Insulin) และกลูคากอน(glucagon) แต่ตัวที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานคือ การทำงานที่ผิดปกติของฮอรโมนอินซูลินทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆในร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงนั่นเองเพราะอินซูลินมีหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ------> สาเหตุที่ทำให้ระบบการทำงานของอินซูลินผิดปกติมีหลายสาเหตุทำให้เราแบ่งโรคเบาหวานออกเป็น 2 ชนิดหลักๆตามสาเหตุและกลไกความผิดปกติ                 โรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 : เชื่อกันว...

ออทิสติค (autism) คืออะไร : Autism Spectrum Disorder (ASD)

d ออทิสติค(autism) คืออะไร ออทิสติค(autism) คืออะไร ออทิสติค(autism) คืออะไร ที่มาภาพ : http://theinspirationroom.com/daily/2009/treehouse-talk-about-autism/              Autism spectrum disorder (ASD) หรือที่คนไทยคุ้นหูว่า ออทิสติค เป็นความผิดปกติ (syndrome) ในด้านการพัฒนาการทางระบบประสาท (neurodevelopment disorder) ที่ส่งผลให้เกิดลักษณะทางพฤติกรรมที่ผิดปกติ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม (social interaction) ด้านภาษาและการสื่อสาร (language and communication) และ ด้านพฤติกรรมแบบซ้า (repetitive-restrictive behaviors) โดยช่วงระหว่างปี 1991 ถึง 1997 พบว่ามีความชุก(prevalence) ของโรคเพิ่มสูงมากถึง 556% โดยการเพิ่มขึ้นนี้สูงกว่าโรคมะเร็ง หรือว่า Down syndrome เสียอีก โดยความผิดปกติในกลุ่มของ ASD จะถูกแบ่งตามลักษณะทางพฤติกรรม 3 ด้านดังที่กล่าวไปข้างต้น โดย Diagnostic and Statistical Manual of mental disorder, Fourth Edition ,Text Revision (DSM-IV-TR) ได้มีแบ่ง ASD ออกเป็น 5 Subtype ดังนี้                   ...

การฟอกไตสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มีกี่วิธี?

การฟอกไตมีกี่วิธี?  ทำแบบไหนดีกว่ากัน?  ค่าใช้จ่ายในการฟอกไต?        การฟอกไต หรือการฟอกของเสียออกจากเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำของไตเสื่อมสรรถภาพทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง ซื้อการฟอกไตสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการฟอกผ่านเส้นเลือด หรือผ่านทางช่องท้อง สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นผู้ป่วยโรคไตที่กำลังจะต้องรับการรักษาโรคไตเรื้อรังคงกำลังมองหาวิธี ผลการรักษา และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการฟอกไต วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับวิธีการฟอกไต 2 วิธีหลัก ๆ ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันกันครับ การฟอกไต คืออะไร?        การฟอกไตคือ การนำเอาของเสียต่าง ๆ และน้ำส่วนเกินที่สะสมในร่างกาย ที่เกิดจากภาวะไตวายจนไม่สามารถกำจัดออกออกเสียเหล่านั้นออกไปได้ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยได้รับการฟอกไตแล้วก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เพียงแต่ต้องทำการฟอกไตเพื่อทดแทนการทำงานของไตอยู่เป็นประจำครับ     การฟอกไตมีกี่วิธี?       ปัจจุบันวิธีการฟอกไตที่ใช้ทั่วไปในโรงพยาบาลของประเทศไทยจะมี 2 วิธีดังนี้ครับ         ...

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพั...