ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ไวรัสตับอักเสบบี และการตรวจหาเชื้อและภูมิต่อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B blood tests)

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)
    ไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตับชนิดรุนแรงที่พบบ่อยที่สุดในโลกโดยมากกว่า 2 พันล้านคนหรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลกมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และในทุกปีมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสูงถึง 1 ล้านคนถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะมีวิธีป้องกันและรักษาการติดเชื้อไวรัสนี้แล้วก็ตาม
การระบาดของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะเป็นในลักษณะ silent epidemic เพราะคนส่วนจะไม่แสดงอาการผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อ หรือมีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง (chronically infected) ทำให้คนกลุ่มนี้มีการแพร่เชื้อไปสุ่คนอื่นโดยที่ไม่รู้ตัว

    ไวรัสตับอักเสบบีเป็นไวรัสที่ติดต่อผ่านทางเลือด และสารคัดหลั่งต่าง ๆ (body fluids) ซึ่งเกิดจากความเสี่ยงจากการสัมผัสเลือด การมีเพศสัมพันธุ์แบบไม่ป้องกัน การใช้สารเสพติดผ่านเข็มที่ไม่สะอาดหรือมีการใช้ซ้ำ และยังสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ตอนตั้งครรภ์ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามไวรัสตับอักเสบบีนั้นมีวิธีป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนในผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน ซึ่งในปัจจุบันเราใช้วิธีการตรวจเลือด (blood test) เพื่อวินิจฉัยว่าในตัวเรามีเชื้อหรือเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อนหรือไม่

การตรวจเลือดเพื่อดูการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B blood test)
    สำหรับการตรวจไวรัสตับอักเสบบีจะมีการตรวจเป็นชุดหรือหลายการทดสอบ (Hepatitis B panel) เพื่อใช้ในการวินิจฉัยหรือสรุปผลโดยการทดสอบทำให้ทราบถึงภาวะต่าง ๆ ได้เช่น มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีภูมิคุ้มกันจากธรรมชาติ และมีภูมิคุ้มกันจากการฉัดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี โดยการตรวจนั้นจะประกอบด้วย 3 การทดสอบหลักสำหรับการวินิจฉัยการติดเชื้อ (นอกจาก 3 ตัวต่อไปนี้ จะยังมีการทดสอบอื่น ๆ อีกเพื่อการติดตามการรักษา หรือในกรณีที่การตรวจเบื้องต้นยังไม่ชัดเจน)

1. HBs Ag (Hepatitis B surface antigen)
    เป็นการทดสอบหาแอนติเจนบนเปลือกหรือผิว (surface) ของเชื้อไวรัสตับอีกเสบบีในเลือด ถ้าผลตรวจเลือดออกมาเป็นบวก (positive or reactive) หมายความว่า ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และสามารถที่จะติดต่อสู่ผู้อื่นได้

2. Anti-HBs หรือ HBs Ab (Hepatitis B surface antibody)
    เป็นการทดสอบหาแอนติบอดี หรือภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจนบนผิวของตัวไวรัสตับอักเสบบี ถ้าผลตรวจเลือดเป็นบวก (positive or reactive) หมายความว่าในร่างกายเรามีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบีทั้งจากกรณีที่ร่างกายสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติจากการที่เคยติดเชื้อมาก่อนและหายจากเชื้อ หรือในกรณีที่มีการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน (จำเป็นต้องแปลผลร่วมกับการทดสอบอื่นเผื่อทราบว่าเกิดจากกรณีไหน)

3. Anti-HBc หรือ HBc Ab (Hepatitis B core antibody)
    เป็นการทดสอบหาแอนติบอดิต่อแอนติเจนที่อยู่แกนกลางด้านในของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผลตรวจเลือดเป็นบวก (positive or reactive) หมายความว่าร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจนแกนกลางของเชื้อซึ่งการพบอยู่ในเลือดนั่นบ่งชี้ถึงการที่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือกำลังติดเชื้อไวรัสก็ได้ (past or current infection) จำเป็นแปลผลร่วมกับสองตัวด้านบน หรือตรวจละเอียดเพิ่มเติมถึงจะทรายแน่ชัดเป็นกรณีไหน เช่นตรวจแยกชนิดว่าเป็น IgM หรือ IgG anti-HBc

ผลเลือด (Test Result)การแปลผล (Interpretation)
HBsAg(+)
anti-HBs(-)
ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Chronic HBV Infection)
HBsAg(-)
anti-HBs(+)
มีภูมิต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Immune to HBV)
HBsAg(-)
anti-HBs(-)
ไม่มีภูมิต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จำเป็นต้องฉัดวัคซีน (Unprotected, needs vaccination)
HBsAg(+)
anti-HBs(+)
ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Chronic HBV infection)

แหล่งอ่างอิง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)             โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว (long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน             กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย (monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน (NH 3 ) หมู่คาร์บอกซิล (COO - ) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ท

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran