ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ ดีเอ็นเอ

Digital PCR และหลักการตรวจ NIPT

  Digital PCR และหลักการตรวจ NIPT Digital PCR (dPCR) เป็นเทคนิคที่พัฒนามาจาก Polymerase Chain Reaction (PCR) แบบดั้งเดิม โดยมีความสามารถในการตรวจจับและวัดปริมาณกรดนิวคลีอิก (DNA หรือ RNA) ได้อย่างแม่นยำและละเอียดกว่าการทำ quantitative PCR (qPCR) เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ตัวอย่างที่มีปริมาณน้อย หรือมีเป้าหมายที่ต้องการวัดอยู่ในระดับต่ำมาก หนึ่งในการประยุกต์ใช้ที่สำคัญของ dPCR คือการตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์แบบไม่รุกล้ำ หรือ Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) หลักการทำงานของ Digital PCR Digital PCR มีหลักการทำงานโดยการแบ่งตัวอย่าง DNA หรือ cDNA ออกเป็นจำนวนมากของไมโครรีแอคชัน (microreaction) หรือดรอปเล็ต (droplet) แต่ละรีแอคชันจะทำปฏิกิริยา PCR แยกจากกันเป็นอิสระ และมีเพียง DNA เป้าหมายเดียวในแต่ละรีแอคชัน ผลลัพธ์จะถูกวิเคราะห์แบบไบนารี (Binary Analysis) คือ มีสัญญาณ (positive) หรือไม่มีสัญญาณ (negative) จากนั้นใช้สถิติ Poisson ในการคำนวณปริมาณของ DNA เป้าหมายที่แท้จริง หลักการตรวจ NIPT ด้วย Digital PCR NIPT อาศัยการตรวจสอบเซลล์ฟรี DNA (cfDNA) ที่อยู่ในกระแสเลือดข...

Digital PCR คืออะไร และใช้ทำงานด้านไหน

Digital PCR (dPCR) Digital PCR (dPCR) เป็นเทคนิคที่พัฒนามาจาก Polymerase Chain Reaction (PCR) แบบดั้งเดิม โดยมีความสามารถในการตรวจจับและวัดปริมาณกรดนิวคลีอิก (DNA หรือ RNA) ได้อย่างแม่นยำและละเอียดกว่าการทำ quantitative PCR (qPCR) เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ตัวอย่างที่มีปริมาณน้อย หรือมีเป้าหมายที่ต้องการวัดอยู่ในระดับต่ำมาก หลักการทำงานของ Digital PCR Digital PCR มีหลักการทำงานโดยการแบ่งตัวอย่าง DNA หรือ cDNA ออกเป็นจำนวนมากของไมโครรีแอคชัน (microreaction) หรือดรอปเล็ต (droplet) แต่ละรีแอคชันจะทำปฏิกิริยา PCR แยกจากกันเป็นอิสระ และมีเพียง DNA เป้าหมายเดียวในแต่ละรีแอคชัน ผลลัพธ์จะถูกวิเคราะห์แบบไบนารี (Binary Analysis) คือ มีสัญญาณ (positive) หรือไม่มีสัญญาณ (negative) จากนั้นใช้สถิติ Poisson ในการคำนวณปริมาณของ DNA เป้าหมายที่แท้จริง ข้อดีของ Digital PCR ความแม่นยำสูง : สามารถวัดปริมาณ DNA หรือ RNA ได้โดยไม่ต้องใช้ standard curve เหมือน qPCR ความไวสูง : สามารถตรวจจับตัวอย่างที่มี DNA เป้าหมายปริมาณน้อยได้อย่างแม่นยำ ทนต่อการรบกวน : ไม่ได้รับผลกระทบจาก inhibitors ในตัวอย่างมากนัก...

เปรียบเทียบเทคโนโลยี Sequencing ทั้ง 3 Generation: ความแตกต่างและการทำงาน

เปรียบเทียบเทคโนโลยี Sequencing ทั้ง 3 Generation: ความแตกต่างและการทำงาน Jennifer Ronholm  et,al. 2016 ปัจจุบันนี้การวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรม (Sequencing) ได้พัฒนาไปอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเราสามารถแบ่งเทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมได้เป็น 3 เจเนอเรชันหลัก ๆ ซึ่งแต่ละเจนก็จะมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไปครับ การที่เราซึ่งเป็นผู้ใช้หรือผู้รับบริการจากเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าใจจุดเด่นและข้อจำกัดของเทคโนโลยีจะช่วยให้สามารถเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หรือการประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเทคนิคการวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรม (Sequencing) กันครับ Gen 1: Sanger Sequencing หลักการทำงานของ Sanger Sequencing ใช้กระบวนการที่เรียกว่า “Dideoxy Chain Termination” ซึ่งประกอบด้วยขั้นการขยายสาย DNA โดยใช้เอนไซม์ DNA polymerase และการใส่ dideoxynucleotide (ddNTPs) ที่ทำให้หยุดการขยายสาย DNA ที่ตำแหน่งที่มีการใส่ ddNTPs เข้ามา จากนั้น DNA ที่ได้จะถูกแยกตามขนาดด้วยกระบวนการ Electrophoresis โดยในระบบ capillary electr...

Phamacogenomics คืออะไร

 Pharmacogenomics คืออะไร Pharmacogenomics หรือ เภสัชพันธุศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างพันธุศาสตร์ (Genomics) และเภสัชวิทยา (Pharmacology) เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจผลกระทบของพันธุกรรมต่อการตอบสนองต่อยาในแต่ละบุคคล เป้าหมายหลักคือการพัฒนาการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้นโดยปรับให้เหมาะสมกับลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วยแต่ละราย หลักการของ Pharmacogenomics Pharmacogenomics อาศัยความรู้เกี่ยวกับลำดับ DNA และการแปรผันทางพันธุกรรม เช่น การเกิด Single Nucleotide Polymorphisms (SNPs) หรือการเปลี่ยนแปลงของยีนที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ เมแทบอลิซึม และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึม กระจายตัว และการกำจัดยา ยกตัวอย่างเช่น: ยีน CYP450 (Cytochrome P450): มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญยา เช่น CYP2D6, CYP3A4 และ CYP2C19 การแปรผันในยีนเหล่านี้อาจส่งผลต่อการเผาผลาญยาช้าหรือเร็วเกินไป ยีน VKORC1 และ CYP2C9: เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) HLA-B*57:01: การตรวจหายีนนี้ช่วยลดความเสี่ยงจากอาการแพ้ยา Abacavir ที่ใช้รักษา HIV ประโยชน์ของ Pharmacoge...

DNA ตอนที่ 1 : DNA คืออะไร และโครงสร้างของ DNA

สารพันธุกรรม (genetic materials) ห มายถึงสารที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งสิ่งมีชีวิตระดับโปรคาริโอต (prokaryote) และยูคาริโอต (eukaryote) โดยสารพันธุกรรมประกอบด้วย ดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid หรือ DNA) และอาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid หรือ RNA) การเก็บรักษาข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการเรียงลำดับของหน่อยย่อยที่สุดของ DNA และ RNA อย่างเป็นระเบียบและมีความหมาย ซึ่งหน่อยย่อยของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอเราเรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) สิ่งมีชีวิตจะทำการแปลรหัสข้อมูลนิวคลีโอไทด์เหล่านี้ออกมาเป็นโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ของเซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อไปผ่านการทำงานร่วมกันตั้งแต่ DNA RNA ไปจนถึงขั้นตอนการสั่งเคราะห์โปรตีน อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางประเภทจะเก็บข้อมูลพื้นฐานของตัวเองในรูปแบบของ RNA เท่านั้น เช่นไวรัสในกลุ่มรีโทรไวรัส หรือที่เรารู้จักกันดีก็คือไวรัสโควิด ภาพที่ 1 แสดงโครงสร้างจำลองของ DNA ที่มาภาพ : http://becuo.com/red-dna-wallpaper   DNA (deoxyribonucleic acid )                  D...