ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เปรียบเทียบเทคโนโลยี Sequencing ทั้ง 3 Generation: ความแตกต่างและการทำงาน

เปรียบเทียบเทคโนโลยี Sequencing ทั้ง 3 Generation: ความแตกต่างและการทำงาน

ปัจจุบันนี้การวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรม (Sequencing) ได้พัฒนาไปอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเราสามารถแบ่งเทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมได้เป็น 3 เจเนอเรชันหลัก ๆ ซึ่งแต่ละเจนก็จะมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไปครับ การที่เราซึ่งเป็นผู้ใช้หรือผู้รับบริการจากเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าใจจุดเด่นและข้อจำกัดของเทคโนโลยีจะช่วยให้สามารถเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หรือการประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเทคนิคการวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรม (Sequencing) กันครับ

Gen 1: Sanger Sequencing

หลักการทำงานของ Sanger Sequencing ใช้กระบวนการที่เรียกว่า “Dideoxy Chain Termination” ซึ่งประกอบด้วยขั้นการขยายสาย DNA โดยใช้เอนไซม์ DNA polymerase และการใส่ dideoxynucleotide (ddNTPs) ที่ทำให้หยุดการขยายสาย DNA ที่ตำแหน่งที่มีการใส่ ddNTPs เข้ามา จากนั้น DNA ที่ได้จะถูกแยกตามขนาดด้วยกระบวนการ Electrophoresis โดยในระบบ capillary electrophoresis จะใช้เลเซอร์ในการกระตุ้นสัญญาณฟลูออเรสเซนต์ของ ddNTP ที่ติดฉลากเพื่ออ่านลำดับเบสของพันธุกรรม

จุดเด่น

  • ความแม่นยำสูงมาก (Error rate ต่ำกว่า 0.001%)

  • เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ลำดับ DNA ที่ไม่ซับซ้อน เช่น ลำดับยีนเดี่ยว

ข้อจำกัด

  • วิเคราะห์ได้ทีละตัวอย่างเท่านั้น

  • ใช้เวลาและต้นทุนสูงเมื่อเปรียบเทีบกับการวิเคราะห์ทั้งจีโนม

Gen 2: Next-Generation Sequencing (NGS)

หลักการทำงานของ NGS ใช้กระบวนการ “Massively Parallel Sequencing” โดยตัวอย่าง DNA จะถูกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ (Fragmentation) และเพิ่ม adapters ที่ปลาย DNA เพื่อยึดติดกับแพลตฟอร์ม จากนั้น DNA จะถูกเพิ่มจำนวน (Amplification) บนพื้นผิวแข็ง เช่น Flow Cell หรือ Beads ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มที่ใช้ เช่น Illumina หรือ Ion Torrent กระบวนการอ่านลำดับใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น:

  1. Illumina: ใช้ Reversible Terminators ซึ่งเป็นเบสที่ติดฉลากฟลูออเรสเซนต์เพื่อให้สามารถตรวจจับทีละรอบ (Cycle)

  2. Ion Torrent: ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงค่า pH ที่เกิดจากการปล่อยไฮโดรเจนไอออนในกระบวนการขยายตัว

จุดเด่น

  • สามารถวิเคราะห์ลำดับได้หลายพันล้านชิ้นพร้อมกัน

  • ค่าใช้จ่ายต่อฐานต่ำและประสิทธิภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์จีโนมทั้งหมด

ข้อจำกัด

  • ความยาวของลำดับที่อ่านได้จำกัด (~50-300 bp)

  • ต้องการทรัพยากรในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก

Gen 3: Third-Generation Sequencing (TGS)

หลักการทำงาน TGS พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขข้อจำกัดของ NGS โดยการอ่านลำดับ DNA สายยาวแบบ Real-Time โดยไม่ต้องขยาย DNA (PCR-Free) ตัวอย่างเทคโนโลยีสำคัญได้แก่:

  1. Pacific Biosciences (PacBio): ใช้ Single Molecule, Real-Time (SMRT) Sequencing ซึ่งวิเคราะห์ลำดับโดยใช้เอนไซม์ DNA polymerase ในการสังเคราะห์ DNA และตรวจจับสัญญาณฟลูออเรสเซนต์ที่ปล่อยออกมาในแต่ละเบสแบบ Real-Time

  2. Oxford Nanopore Technologies: ใช้ Nanopore ที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงกระแสไฟฟ้าขณะสาย DNA ผ่านรูนาโน โดยการเปลี่ยนแปลงนี้สัมพันธ์กับลำดับเบส

จุดเด่น

  • สามารถอ่าน DNA สายยาวได้ (>10,000 bp หรือมากกว่า)

  • ตรวจจับการดัดแปลงทางเคมีของ DNA เช่น เมทิลเลชันได้

  • ลดความซับซ้อนในกระบวนการเตรียมตัวอย่าง

ข้อจำกัด

  • ความแม่นยำต่ำกว่า NGS (Error rate ประมาณ 5-15%) แต่สามารถปรับปรุงได้ด้วยการอ่านซ้ำ

  • เครื่องมือมีราคาสูงและอาจต้องการการบำรุงรักษาเฉพาะ

ตารางเปรียบเทียบ Sequencing ทั้ง 3 Generation

คุณสมบัติSanger SequencingNext-Generation Sequencing (NGS)Third-Generation Sequencing (TGS)
หลักการทำงานDideoxy Chain TerminationMassively Parallel SequencingReal-Time Single Molecule Sequencing
ความยาวลำดับที่อ่านได้500-1,000 bp50-300 bp>10,000 bp
ความแม่นยำสูงมาก (Error <0.001%)สูง (Error ~0.1-1%)ปานกลางถึงสูง (Error ~5-15%)
ปริมาณข้อมูลที่ได้น้อยสูงสูง
ค่าใช้จ่ายต่อเบสสูงต่ำปานกลาง
ความซับซ้อนของกระบวนการต่ำปานกลางต่ำ
การใช้งานที่เหมาะสมงานวิเคราะห์ลำดับสั้นๆงานที่ต้องการข้อมูลจำนวนมากงานที่ต้องการ Long-Reads หรือ Epigenetics

บทสรุป แต่ละเจเนอเรชันของเทคโนโลยี Sequencing มีจุดเด่นและข้อจำกัดที่เหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ กันครับ การเลือกใช้เทคโนโลยีขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เช่น การตรวจสอบลำดับ DNA สั้น (Sanger Sequencing) การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากอย่างรวดเร็ว (NGS) หรือการศึกษาสายยาวและการดัดแปลงทางเคมีของ DNA (TGS) การพัฒนาของเทคโนโลยีเหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในอนาคต




แหล่งอ้างอิงภาพ
https://www.researchgate.net/publication/305904423_Navigating_Microbiological_Food_Safety_in_the_Era_of_Whole-Genome_Sequencing


#Sequencing #การวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าส...

DNA ตอนที่ 1 : DNA คืออะไร และโครงสร้างของ DNA

สารพันธุกรรม (genetic materials) ห มายถึงสารที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งสิ่งมีชีวิตระดับโปรคาริโอต (prokaryote) และยูคาริโอต (eukaryote) โดยสารพันธุกรรมประกอบด้วย ดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid หรือ DNA) และอาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid หรือ RNA) การเก็บรักษาข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการเรียงลำดับของหน่อยย่อยที่สุดของ DNA และ RNA อย่างเป็นระเบียบและมีความหมาย ซึ่งหน่อยย่อยของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอเราเรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) สิ่งมีชีวิตจะทำการแปลรหัสข้อมูลนิวคลีโอไทด์เหล่านี้ออกมาเป็นโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ของเซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อไปผ่านการทำงานร่วมกันตั้งแต่ DNA RNA ไปจนถึงขั้นตอนการสั่งเคราะห์โปรตีน อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางประเภทจะเก็บข้อมูลพื้นฐานของตัวเองในรูปแบบของ RNA เท่านั้น เช่นไวรัสในกลุ่มรีโทรไวรัส หรือที่เรารู้จักกันดีก็คือไวรัสโควิด ภาพที่ 1 แสดงโครงสร้างจำลองของ DNA ที่มาภาพ : http://becuo.com/red-dna-wallpaper   DNA (deoxyribonucleic acid )                  D...

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพั...