ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2014

HbA1c คืออะไร หรือ ค่าน้ำตาลสะสม คืออะไรมาดูกัน

       HbA 1c (Hemoglobin A1C หรือ ฮีโมโกลบิน เอวันซี) มีชื่อเรียกในทางวิทยาศาสตร์คือ glycated haemoglobin ซึ่งเกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือดเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับน้ำตาลที่อยู่ในเลือด ซึ่งโปรตีนตัวนี้เรารู้จักกันดีในชื่อ ฮีโมโกลบิน (Haemoglobin) ที่พบได้อยู่ในเม็ดเลือดแดงนั่นเองโดยทำหน้าที่เป็นตัวพาก๊าชออกซิเจน (O2) ที่จำเป็นต่อร่างกายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ผ่านทางกระแสเลือด         ในบุคคลทั่วไปมักจะเรียก HbA1c ให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า น้ำตาลสะสม / น้ำตาลเฉลี่ยซึ่งจะเป็นการตรวจติดตามระดับน้ำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (diabetes mellitus, DM) ในระยะเวลาเฉลี่ย 2-3 เดือน โดยการเตรียมก่อนเจาะเลือดเพื่อตรวจ  HbA 1c ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือดเหมือนกับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดครับ HbA1c ต่างจากการตรวจน้ำตาลปัจจุบันอย่างไร?       HbA1c มีความพิเศษอยู่ที่ระยะเวลาหลังจาก Hb เปลี่ยนเป็น HbA1c แล้วจะคงอยู่ในเลือดของเราได้นานถึง 8-12 สัปดารห์ ก่อนที่จะสลายตัวไป และในขณะเดียวกันก็เกิดการสร้าง Hb ขึ้นมาทดแทนและเปลี่ยนเป็น HbA1c แทนที่ ซึ่งการตรวจวัดระดับของ HbA1c จึงบ่งบอกถึงค่าเฉลี่ยขอ

เลือดของเราประกอบด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบของเลือด เลือดของเราประกอบด้วยอะไรบ้าง ส่วนประกอบของเลือด เลือดของเราประกอบด้วยอะไรบ้าง?            เลือดเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกายที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งเลือดสีแดง ๆ ของเรานั้นจะมีองค์ประกอบหลายส่วนมีทั้ง เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด นอกจากนั้นยังมีสารชีวโมเลกุล เช่นน้ำตาล ไขมัน ร่วมถึงฮอร์โมน และออกซิเจน ซึ่งสารเหล่านี้ถูกส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านทางระบบหลอดเลือด และเลือดทั้งนั้นครับ โดยในวันนี้เราจะเน้นในองค์ประกอบส่วนทางด้าน hematology คือพวกเม็ดเลือดและองค์ประกอบหลัก ๆ เท่านั้น ซึ่งเลือดของเรานั้นมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนครับดังนี้ ส่วนที่เป็นของเหลว (Plasma)  คิดเป็นร้อยละ 55 ขององค์ประกอบทั้งหมด โดยมีน้ำเป็นองค์ประกอบหลักถึง 95% ที่เหลือเป็นสารอาหาร แก๊ส เอนไซม์ต่างๆ หน้าที่คือ ลำเลียงอาหารไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกาย และนำของเสียไปยังอวัยวะขับถ่าย ส่วนที่เป็นเซลล์  คิดเป็นร้อยละ 45 ขององค์ประกอบทั้งหมด ประกอบไปด้วย เม็ดเลือดแดง  เม็ดเลือดขาว และ เกร็ดเลือด เม็ดเลือดแดง (red blood cells) : ภายในเม็ดเลือดแดงจะมีฮีโมโกบิน(hemoglo

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

การฟอกไตสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มีกี่วิธี?

การฟอกไตมีกี่วิธี?  ทำแบบไหนดีกว่ากัน?  ค่าใช้จ่ายในการฟอกไต?        การฟอกไต หรือการฟอกของเสียออกจากเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำของไตเสื่อมสรรถภาพทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง ซื้อการฟอกไตสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการฟอกผ่านเส้นเลือด หรือผ่านทางช่องท้อง สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นผู้ป่วยโรคไตที่กำลังจะต้องรับการรักษาโรคไตเรื้อรังคงกำลังมองหาวิธี ผลการรักษา และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการฟอกไต วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับวิธีการฟอกไต 2 วิธีหลัก ๆ ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันกันครับ การฟอกไต คืออะไร?        การฟอกไตคือ การนำเอาของเสียต่าง ๆ และน้ำส่วนเกินที่สะสมในร่างกาย ที่เกิดจากภาวะไตวายจนไม่สามารถกำจัดออกออกเสียเหล่านั้นออกไปได้ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยได้รับการฟอกไตแล้วก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เพียงแต่ต้องทำการฟอกไตเพื่อทดแทนการทำงานของไตอยู่เป็นประจำครับ     การฟอกไตมีกี่วิธี?       ปัจจุบันวิธีการฟอกไตที่ใช้ทั่วไปในโรงพยาบาลของประเทศไทยจะมี 2 วิธีดังนี้ครับ             การฟอกผ่านทางช่องท้องแบบถาวร   Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD)              

บทบาทหน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาล ต้องทำงานอะไรบ้าง!

        บทบาทหน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลจะถูกแบ่งจำแนกเป็นหลาย ๆ หน่วยด้วยกันครับซึ่งก็เพื่อให้การทำงานของกลุ่มงานของนักเทคนิคการแพทย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเมื่อเราเข้าไปทำงานแล้วก็ขึ้นอยู่กับว่าเราสมัครเข้ามาในตำแหน่งไหน หรือว่าตำแหน่งไหนว่าง  แต่โดยรวมแล้วเราต้องสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งหมดนะครับ เพียงแต่ในส่วนลึกหรือความรับผิดชอบ การจัดระเบียบเราก็จะรับผิดชอบเป็นหน่อยงานไป แบ่งเป็น (คร่าวๆนะครับ แต่ละ รพ. ก็จะมีการจัดที่แตกต่างกันออกไป) 1. งานด่านหน้า หรือ หน่วยงานผู้ป่วยนอก(OPD)           ทำหน้าที่เกี่ยวกับจัดการกับสิ่งส่งตรวจ เช่น เจาะเลือด แนะนำผู้ป่วยในการเป็นปัสสาวะ ลงทะเบียนผู้ป่วย เป็นต้นครับ  หลักๆที่นักเทคนิคการแพทย์ทำงานในส่วนนี้จะเป็นการเจาะเลือดของผู้ป่วยและแนะนำการเก็บปัสสาวะครับ นอกจากนั้นยังคอยกำกับดูแลการทำงานของผู้ช่วยในการเจาะเลือดครับตามตัวกฏหมายกำหนดให้ เทคนิคการแพทย์ควบคุมดูแลการทำงานของผู้ช่วยเทคนิคการแพทย์เพราะเป็นผู้ที่มีใบประกอบโรคศิลป์นั่นเอง การลงทะเบียนจัดการเอกสารจะมีเจ้าหน้าที่ธุระการต่างหากครับ 2. ห้องปฏิบัติการกลาง (Central L

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran