ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การฟอกไตสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มีกี่วิธี?

การฟอกไตมีกี่วิธี? ทำแบบไหนดีกว่ากัน? ค่าใช้จ่ายในการฟอกไต?


       การฟอกไต หรือการฟอกของเสียออกจากเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำของไตเสื่อมสรรถภาพทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง ซื้อการฟอกไตสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการฟอกผ่านเส้นเลือด หรือผ่านทางช่องท้อง สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นผู้ป่วยโรคไตที่กำลังจะต้องรับการรักษาโรคไตเรื้อรังคงกำลังมองหาวิธี ผลการรักษา และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการฟอกไต วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับวิธีการฟอกไต 2 วิธีหลัก ๆ ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันกันครับ

การฟอกไต คืออะไร? 
      การฟอกไตคือ การนำเอาของเสียต่าง ๆ และน้ำส่วนเกินที่สะสมในร่างกาย ที่เกิดจากภาวะไตวายจนไม่สามารถกำจัดออกออกเสียเหล่านั้นออกไปได้ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยได้รับการฟอกไตแล้วก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เพียงแต่ต้องทำการฟอกไตเพื่อทดแทนการทำงานของไตอยู่เป็นประจำครับ
   

การฟอกไตมีกี่วิธี?
      ปัจจุบันวิธีการฟอกไตที่ใช้ทั่วไปในโรงพยาบาลของประเทศไทยจะมี 2 วิธีดังนี้ครับ
            การฟอกผ่านทางช่องท้องแบบถาวร  Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) 
                 

        เป็นการฟอกไตทางช่องท้องโดยใช้น้ำยาสำหรับฟอกไตที่เราจะใส่เข้าไปทางช่องท้องผ่านทางสายท่อครับ โดยผู้ป่วยจะต้องฝังท่อไว้ที่ช่องท้องตลอดเวลา และน้ำยาที่เราใส่เข้าไปนั้นก็จะทำการแลกเปลี่ยนของเสียกับสารในน้ำยาฟอกไต เพื่อดึงเอาของเสียจากร่างกาย จากนั้นเราก็ทำการเปลี่ยนน้ำยาในระหว่างวันครับ ซึ่งจะทำวนอย่างงี้ไปเรื่อย ๆ ครับ  วิธีนี้ใช้เวลาครั้งละประมาน 6 ชั่วโมงครับ 
            ข้อดี : สะดวก ผู้ป่วยสามารถทำที่บ้านได้ไม่เสียเวลาเดินทาง และที่สำคัญ ฟรี! เพราะรัฐมีงบประมาณให้สำหรับวิธีนี้เท่านั้นนะครับ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยหรือญาติต้องผ่านการอบรมวิธีการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก่อนครับ
            ข้อเสีย : มีโอกาสติดเชื้อง่ายได้ง่าย จากการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และไม่สะอาด เพราะเราต่อท่อไว้ตลอดถ้าไม่รักษาความสะอาดดี ๆ อาจจะทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อได้ครับ เราหรือญาติของผู้ป่วยต้องเรียนรู้วิธีการใช้งาน และรักษาความสะอาดจากทางโรงพยาบาลและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคลัด

           การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis)



            วิธีนี้เป็นการนำของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากเส้นเลือดดำ โดยผ่านตัวกรองที่อยู่ในเครื่องฟอกเลือด ซึ่งการทำงานของเครื่องคือการดึงเอาเลือดออกมาผ่านตัวกรองของเสียจนกลายเป็นเลือดดีจากนั้นจึงส่งกลับเข้ามาในร่างกายของเราครับ วิธีนี้ทำเพียง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่างจากวิธีแรกที่ต้องทำทุกวัน
            ข้อดี : โอกาสติดเชื้อจากการฟอกน้อยมาก และไม่ต้องทำกาคฟอกทุกวัน
            ข้อเสีย : เสียเวลาเดินทางไปโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายแพงครับ ต่อครั้งประมาณ 1500-2000 บาท สำหรับคนทั่วไปที่มีสามสรถเบิกได้ครับ แต่สำหรับสิทธิข้าราชการ หรือประกันสังคมก็สามารถเบิกได้เช่นกัน

       สำหรับบทความนี้ก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้ครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ


#การฟอกไต#วิธีการฟอกไต#เทคนิคการแพทย์#ฟอกเลือด#ฟอกไตทางช่องท้อง#
#การฟอกไต#วิธีการฟอกไต#เทคนิคการแพทย์#ฟอกเลือด#ฟอกไตทางช่องท้อง#
#การฟอกไต#วิธีการฟอกไต#เทคนิคการแพทย์#ฟอกเลือด#ฟอกไตทางช่องท้อง#
#การฟอกไต#วิธีการฟอกไต#เทคนิคการแพทย์#ฟอกเลือด#ฟอกไตทางช่องท้อง#
#การฟอกไต#วิธีการฟอกไต#เทคนิคการแพทย์#ฟอกเลือด#ฟอกไตทางช่องท้อง#

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)             โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว (long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน             กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย (monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน (NH 3 ) หมู่คาร์บอกซิล (COO - ) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ท

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran