ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทบาทหน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาล ต้องทำงานอะไรบ้าง!

        บทบาทหน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลจะถูกแบ่งจำแนกเป็นหลาย ๆ หน่วยด้วยกันครับซึ่งก็เพื่อให้การทำงานของกลุ่มงานของนักเทคนิคการแพทย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเมื่อเราเข้าไปทำงานแล้วก็ขึ้นอยู่กับว่าเราสมัครเข้ามาในตำแหน่งไหน หรือว่าตำแหน่งไหนว่าง  แต่โดยรวมแล้วเราต้องสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งหมดนะครับ เพียงแต่ในส่วนลึกหรือความรับผิดชอบ การจัดระเบียบเราก็จะรับผิดชอบเป็นหน่อยงานไป

แบ่งเป็น (คร่าวๆนะครับ แต่ละ รพ. ก็จะมีการจัดที่แตกต่างกันออกไป)

1. งานด่านหน้า หรือ หน่วยงานผู้ป่วยนอก(OPD) 
         ทำหน้าที่เกี่ยวกับจัดการกับสิ่งส่งตรวจ เช่น เจาะเลือด แนะนำผู้ป่วยในการเป็นปัสสาวะ ลงทะเบียนผู้ป่วย เป็นต้นครับ  หลักๆที่นักเทคนิคการแพทย์ทำงานในส่วนนี้จะเป็นการเจาะเลือดของผู้ป่วยและแนะนำการเก็บปัสสาวะครับ นอกจากนั้นยังคอยกำกับดูแลการทำงานของผู้ช่วยในการเจาะเลือดครับตามตัวกฏหมายกำหนดให้ เทคนิคการแพทย์ควบคุมดูแลการทำงานของผู้ช่วยเทคนิคการแพทย์เพราะเป็นผู้ที่มีใบประกอบโรคศิลป์นั่นเอง การลงทะเบียนจัดการเอกสารจะมีเจ้าหน้าที่ธุระการต่างหากครับ

2. ห้องปฏิบัติการกลาง (Central Lab)
        จะเป็นห้องที่รวมงานทางด้านต่างๆที่สามารถรวมไว้เป็นห้องเดียวกันได้ (มีบางงานที่ต้องแยกออกไปเฉพาะ) เพื่อประหยัดเวลา  การจัดแจงอุปกรณ์ต่างๆ ความสะดวกของเจ้าหน้าที่  โดยในห้องนี้จะมีหน่วยงานที่สามารถนำมารวมกันเป็นห้องเดียวกันได้ (บาง รพ. แยกกันก็มีครับ) เช่น งานทางด้านโลหิตวิทยา  งานเคมีคลินิก  งานอิมมูโนโลจี  งานสารน้ำในร่างกาย (ปัสสาวะ น้ำไขสันหลัง)  ห้องนี้จะได้ทำงานค่อนข้างหลากหลายครับ มีบุคลากรเยอะ ช่วยเหลือกันดีครับ

3.ห้องจุลชีววิทยา
      เป็นห้องที่ทำงานเกี่ยวกับการเพาะเชื้อแบคทีเรีย การวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียและรา จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย มีความสำคัญอย่างมากในขั้นตอนการรักษาครับ เพราะจะทำให้แพทย์สามารถเลือกใช้ยาได้ถูกต้องและเหมาะสมกับอาการของผุ้ป่วย สาเหตุที่ห้องนี้ต้องแยกออกมาจากห้องอื่น ๆ เพราะต้องการความสะอาด ความปลอดเชื้อครับ นั่นเองครับ

4.ห้องธนาคารเลือด 
     ทุกคนคงรู้จักกลุ่มงานนี้ของนักเทคนิคการแพทย์เป็นอย่างดีแน่นอนครับ ซึ่งห้องนี้เป็นห้องที่นักเทคนิคการแพทย์มีบทบาทสำคัญอย่างมากเช่นกันครับ เพราะเลือดที่ได้รับบริจาคมาหรือเลือดที่จะส่งต่อให้กับผู้ป่วยนั่นต้องเป็นเลือดที่ สะอาด สมบูรณ์ และปลอดเชื้อ ซึ่งงนักเทคนิคการแพทย์จะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ตรวจเช็คว่าเลือดเหล่านี้โดยใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อระบุว่าเลือดนั้นมีความปลอดภัยก่อนที่จะส่งต่อให้แก่ผู้ป่วยครับ นอกจากนี้การที่จะนำเลือดของคน ๆ หนึ่งให้กับอีกคนได้นั้น แค่หมู่เลือดตรงกันอยย่างเดียวไม่พอครับ ยังต้องมีการทดสอบความเข้ากันได้ของเลือดเสียก่อนครับ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเทคนิคการแพทย์นั่นเอง



สำหรับวันนี้ก็มีมาแนะนำเพียงเท่านี้ครับ สำหรับน้องๆก็ โชคดีนะครับหวังว่าคงได้ในห้องที่ตัวเองชื่นชอบ ^_^



เทคนิคการแพทย์ คือ # เทคนิคการแพทย์ทำงานอะไร #เทคนิคการแพทย์ดีไหม #เทคนิคการแพทย์ทำอะไรบ้าง #คณะเทคนิคการแพทย์
เทคนิคการแพทย์ คือ # เทคนิคการแพทย์ทำงานอะไร #เทคนิคการแพทย์ดีไหม #เทคนิคการแพทย์ทำอะไรบ้าง #คณะเทคนิคการแพทย์
เทคนิคการแพทย์ คือ # เทคนิคการแพทย์ทำงานอะไร #เทคนิคการแพทย์ดีไหม #เทคนิคการแพทย์ทำอะไรบ้าง #คณะเทคนิคการแพทย์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

การงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือดทำอย่างไร

การงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด (Fasting before blood tests)           ในปัจจุบันการตรวจเลือดเป็นวิธีพื้นฐานทางการแพทย์ที่จะใช้ในการวินิจฉัย ประเมิน และติดตามการรักษาโรค   ซึ่งในการตรวจเลือดบางรายการเช่น น้ำตาลและไขมันนั้น สารอาหารที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้ค่าการตรวจเลือดผิดพลาดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการงดน้ำ และอาหารข้ามคืนก่อนที่จะดำเนินการเจาะเลือดเพื่อตรวจในห้องปฏิบัติการ   โดยคำถามที่มักพบสำหรับผู้ป่วยที่อาจไม่ทราบมาก่อนว่าต้องงดอย่างไร ระยะเวลาเท่าไหร่ ทำไมบางครั้งอดในระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน หรือบางครั้งไม่ต้องอดอาหารเลย ซึ่งทั้งหมดมีคำตอบให้ในบทความนี้ครับ           วิธีปฏิบัติสำหรับการงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด           การอด หรืองดอาหาร หมายถึงห้ามกินอาหารชนิดใด ๆ เลย รวมถึงลูกอม น้ำหวาน น้ำผลไม้ กาแฟ และอื่นๆ ที่มีรสชาติ สิ่งเดียวที่สามารถทานได้คือ น้ำเปล่า เท่านั้นครับ เพราะสารอาหารเหล่านี้จะไปรบกวนการตรวจ และอาจทำให้ผลการวิเคราะห์ผิดพลาดไป ส่งผลต่อการวินิจฉัย และการรักษาโดยตรงครับ เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติตามหลักการอย่างถูกต้องนะค

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran