ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

            โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน(amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว(long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน
            กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย(monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน(NH3) หมู่คาร์บอกซิล(COO-) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์(peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนเพียงตัวเดียวจะส่งผลกับหน้าที่และโครงสร้างของโปรตีนอย่างมาก

http://www.proprofs.com/flashcards/story.php?title=biological-molecules-aqa-proteins

            โครงสร้างของโปรตีนจะมีทั้งหมด 4 ระดับ เมื่อเกิดสังเคราะห์โปรตีนโดยการต่อกันของกรดอะมิโนเป็น polypeptide สายยาวเกิดขึ้นโครงสร้างนี้เรียกว่า primary structure ต่อมา polypeptide จะเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้อยู่ในรูปที่เสถียรมากกว่า primary structure กลายเป็นโครงสร้าง secondary structure แบบแผ่น หรือ beta-pleated sheets และแบบเกลียว(alpha-helices) ความแตกต่างของกรดอะมิโนภายในโครงสร้างจะเป็นตัวกำหนดว่าจะเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นแบบไหนโดยจะมีกรดอะมิโนตัวที่เป็น signature ว่าตรงส่วนนั้นจะเป็น beta-pleated sheets หรือ alpha-helices เช่น methionine, alanine , leucine uncharged glutamate และ lysine (MALEK) เป็น signature ที่จะทำให้เกิด helix forming ในขณะที่ proline และ glycine  จะเกิดได้ยากกว่า


            Tertiary structure เกิดจาก interaction ระหว่างกรดอะมิโนในโครงสร้างของ primary หรือ secondary เกิดโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่ามาก และเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติของโปรตีน โดย interaction ที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นจากทั้งจากแรงที่อ่อนที่สุดอย่าง H bond หรือ Van der Waals หรือพันธะที่แข็งแรงอย่าง ionic bond และ disulfide bond ที่เกิดจาก thiol group ระหว่าง cysteine ด้วยกันเองเป็นพันธะที่แข็งแรงมากทำให้โครงสร้างสามมิติของโปรตีนมีความเสถียร์และแข็งแรงมากๆด้วยเช่นกัน  นอกจากนี้โปรตีนบางชนิดเป็นโปรตีนที่มีโครงสร้างซับซ้อนโดยเกิดจากโปรตีน(protein subunit) หลายๆตัวมารวมกันโดยเกิดเพียง weak interaction ระหว่าง subunit ตัวอย่างเช่น hemoglobin เราเรียกว่าโครงสร้างแบบนี้ว่าเป็น quaternary structure





โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)#โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)#โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)#โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)#โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)#โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran