ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)


        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร 
       ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ

 สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี 
      สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการได้แลัวส่งผลต่อค่าการตรวจวิเคราะห์ได้ โดยแต่ละชนิดก็จะส่งผลต่อการตรวจที่แตกต่างกัน ดังนั้นนักเทคนิคการแพทย์ หรือพยาบาลผู้ทำการเจาะเลือดจึงต้องเก็บสิ่งตัวอย่างให้ถูกต้องตามชนิดการตรวจเพื่อให้การตรวจวิเคราะห์ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเองครับ

 ทำไมถึงต้องใช้คนละชนิด 
      เนื่องมาจากสารกันเลือดแข็งแต่ละชนิดนั้น มีกลไกการป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวที่แตกต่างกัน ซึ่งสารกันเลือดแข็งมันก็จะรบกวนการตรวจวัดค่าต่าง ๆ ในเลือดแตกต่างกันไป เราจึงต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องกับชนิดของการตรวจนั้น ๆ  เพื่อป้องกันปัจจัยที่จะส่งผลต่อค่าการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์


 แต่ละสีต่างกันอย่างไร 
      ในหลอดเลือดแต่ละหลอดจะแตกต่างที่สารกันเลือดแข็งตามที่กล่าวไปในตอนแรกนะครับ โดยแต่ละสีใช้สารกันเลือดแข็งดังนี้ครับ (แค่ส่วนหลัก ๆ ที่ใช้ในงานประจำครับ ปัจจุบันมีหลอดเลือดจำนวนมากที่ถูกพัฒนาขึ้นมาครับ ซึ่งถ้าเป็นหลอดพิเศษมักจะมีคู่มือการใช้งานมาด้วยครับ)
  • สีแดง สีแดงนั้นสารที่อยู่ข้างในนั้นไม่ใช่สารกันเลือดแข็ง (Anti-coagulant) เหมือนกับเพื่อนๆครับ แต่ในนั้นจะเป็นตัวกระตุ้น หรือ  activator  ที่ทำให้เลือดเกิดการแข็งตัวได้เร็วยิ่งขึ้น และนักเทคนิคการแพทย์จะนำส่วนที่เป็น serum มาใช้ตรวจในกลุ่มการดูการติดเชื้อไวรัส  ตรวจมะเร็ง  และฮอร์โมน เป็นตั้น
  • สีเขียว ใช้สารกันเลือดแข็งที่มีชื่อว่า heparin ซึ่งมีคุณสมับติในการยับยั้งการทำงาน thrombinIII หรือ anti-thrombinIII (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดตัวหนึ่ง) เหมาะกับการตรวจทางด้านเคมี โดยเฉพาะ เช่น การตรวจอิเล็คโทรไรท์ น้ำตาล ไขมัน และเอนไซม์ต่าง ๆ
  • สีม่วง เป็นสารกันเลือดแข็งชนิด EDTA ที่มีคุณสมบัติไปจับกับแคลเซียมเอาไว้ ซึ่งแคลเซียมจำเป็นสำหรับกระบวนการแข็งตัวของเลือดครับ  โดยหลอดเลือดชนิดนี้เหมาะกับการตรวจทางด้านโลหิตวิทยา เช่น CBC, ESR และ น้ำตาลสะสม เป็นต้น เพราะ EDTA จะคงรักษาสภาพของเม็ดได้ดี รูปร่างของเม็ดเลือดจึงยังเหมือนเดิมมากที่สุด 
  • สีฟ้า สารกันเลือดแข็งที่ใช้คือ SODIUM CITRATE ที่จะไปจับกับแคลเซียมเช่นเดียวกับ EDTA แต่ไม่กระตุ้นการทำงานของเกร็ดเลือดซึ่งมีหน้าที่สำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือดครับ  โดยหลอดสีฟ้านี้เหมาะกับการตรวจการแข็งตัวของเลือดเช่น PT aPTT เป็นต้น
  • สีเทา ในบางโรงพยาบาลจะมีหลอดทีเทา ที่ใช้ NaF เป็นสารกันเลือดแข็งซึ่ง ตัวนี้จะเหมาะกับการตรวจน้ำตาลมากกว่าตัวอื่นเพราะสามารถคงปริมาณน้ำตาลไม่ได้ลดลงได้นานถึง 8 ชม. แต่ในบางที่จะใช้เป็น heparin tube แทนหลอด NaF เพราะ heparin tube ก็สามารถคงสภาพได้เชนกันเพียงแต่ต้องทำการตรวจภาพใน 3 ชั่วโมงครับ


      
     ในผู้ป่วยบางราย หรือเด็กทารกแรกเกิด ที่ไม่สามารถเจาะเลือดได้ตามปริมานที่เพียงพอต่ออัตราส่วนของสารกันเลือดแข็ง เราต้องเลือดใช้หลอดเลือดที่มีขนาดเล็กลงมาตามภาพครับ และนอกจากหลอดเลือดชนิดข้างต้นเป็นหลอดเลือดที่ใช้ทั่วไปครับ ยังมีหลอดเลือดอีกหลากหลายชนิดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาตามจุดประสงค์ของการใช้งาน หรือการตรวจชนิดพิเศษอีกมากมายครับ
     





#หลอดใส่เลือด#tube เลือดมีกี่ชนิด#tube เลือดมีกี่ชนิด#เทคนิคการแพทย์#
#หลอดใส่เลือด#tube เลือดมีกี่ชนิด#tube เลือดมีกี่ชนิด#เทคนิคการแพทย์#
#หลอดใส่เลือด#tube เลือดมีกี่ชนิด#tube เลือดมีกี่ชนิด#เทคนิคการแพทย์#
#หลอดใส่เลือด#tube เลือดมีกี่ชนิด#tube เลือดมีกี่ชนิด#เทคนิคการแพทย์#
#หลอดใส่เลือด#tube เลือดมีกี่ชนิด#tube เลือดมีกี่ชนิด#เทคนิคการแพทย์#

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)             โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว (long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน             กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย (monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน (NH 3 ) หมู่คาร์บอกซิล (COO - ) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ท

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran