ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความหมายของผลเลือดจาก lab ของ รพ.


 อัพเดทล่าสุด 06/2560  กำลังแก้ไขเพิ่มให้มีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้นรวมถึงจัดหมวดหมู่ให้ดูง่ายขึ้นครับ ติดตตามกันได้ครับ

       การตรวตเลือด (Blood Testing) เป็นหนึ่งในขั้นตอนขบวนการรักษาที่สำคัญ สำหรับผู้ป่วยที่เข้าออกโรงพยาบาลหลายครั้งคงคุ้นเคยกับการเจาะเลือดเป็นอย่างดี  เมื่อได้ใบผลการตรวจนั้นกลับมามักจะไม่เข้าใจความหมายของค่าต่าง ๆ ของผลเลือดเพราะหมอจะเป็นผู้อ่าน และแปลผลเลือดด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเริ่มห้องปฏิบัติการ หรือแล็ปที่เปิดเป็นคลินิกตรวจเลือดบ้างแล้ว และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมทั้งเทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้นทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากเลือกที่จะไปตรวจเลือดด้วยตนเองเพื่อประเมิณสุขภาพเบื้องต้นครับ ดังนั้นผู้เขียนจึงได้รวบรวมคำอธิบายค่าต่าง ๆ ของผลเลือด แต่ไม่ควรแปลผล และตัดสินเอาเองนะครับว่าเราเป็นอะไร ควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย แต่เพียงอธิบายให้เราทราบเพื่อความเข้าใจเท่านั้นครับ

        ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว สิ่งหนึ่งที่พัฒนาการควบคู่กันมาคือการวินิจฉัยโรคจากสารบ่งชี้ชนิดต่าง ๆ ในเลือดทั้งโรคทางพันธุกรรม โรคเบาหวาน โรคตับ ไต รวมทั้งโรคมะเร็ง และสารบ่งเหล่าชี้นี้ได้ถูกนำมาวิจัยเปรียบเทียบหาค่าปกติ ซึ่งแต่ละค่ามักจะมีความจำเพาะต่อโรคที่แตกต่างกัน หรือมีความแปรผันความเพศ อายุ ซึ่งทำให้บางครั้งในโรงพยาบาลแต่ละที่จะมีค่าปกติ หรือค่าอ้างอิงถึงความผิดปกติที่แตกต่างกันเล็กน้อยครับ ดังนั้นเราจึงควรให้หมอเป็นผู้วินิจฉัยจะดีที่สุดครับ สำหรับค่าการตรวจในเลือดก็แบ่งออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้ง่ายสำหรับการอธิบายดังนั้น


 เคมีคลินิก (Clinical Chemistry) 

น้ำตาล (Glucose) 
กลูโคสเป็นน้ำตาลตัวสำคัญในร่างกายทำหน้าที่เป็นแหลังพลังงานให้แก่เซลล์ต่าง ๆ ทางการแพทย์ใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นสารบงชี้บ่งชี้สำหรับโรคเบาหวาน ซึ่งปัจจุบันมีการด้วยน้ำตาลได้หลายวิธีแบบทั้งอดอาหาร และไม่อดอาหาร หรือให้ทานน้ำตาลแล้วเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล

ค่าสูง พบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือคนตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ค่าปกติ: เมื่ออดอาหาร ไม่ควรเกิน 100 mg/dl

HbA1c หรือ น้ำตาลสะสม
HbA1c คือ ฮีโมโกลบินชนิดเอ (HbA) ในเม็ดเลือดแดงที่เกิดการทำปฏิกิริยา Glycation กับน้ำตาลในเลือดของจะกลายเป็น HbA1c (glycated hemoglobin) นั้นเองครับ โดยในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปริมานน้ำตาลในเลือดสูงก็จะตรวจพบปริมาน HbA1c สูงเช่นกัน โดยจะสะสมอยู่ในร่างกายเราได้ประมาณ 2-3 เดือน HbA1c จึงถูกใช้เป็นค่าบ่งชี้ถึงระดับน้ำตาลเฉลี่ยในช่วง 2-3 เดือน เพื่อดูการควบคุมน้ำตาลของเรา ดังนั้นไม่ว่าเราจะอดอาหาร หรือไม่อดอาหารก่อนเจาะเลือด ค่านี้ก็ไม่เปลี่ยนครับ

ค่าปกติ: ไม่ควรเกิน 6 mg%

ไขมัน (Lipid profile)
การตรวจระดับไขมันในเลือดถูกนำไปใช้เป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้นในการทำนายความเสี่ยงของโรคหัวใจ (heart disease) และโรคสมองขาดเลือดจากการอุดตัน หรือตีบตันของเส้นเลือด (stroke) โดยมักจะตรวจอยู่ในรายการ lipid profile ที่มีประกอบไขมัน 4 รายการดังนี้
  1. Total cholesterol  เป็นตัวบ่งชี้ระดับคลอเลสเตอรอลโดยรวม ทั้ง HDL-c และ LDL-c และยังรวมถึง triglyceride ภายในเลือด โดยมีค่าปกติไม่ควรเกิน 200 mg/dl 
  2. Triglyceride เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย ปกติจะตรวจควบคู่กับไขมันตัวอื่น ๆ ค่าปกติไม่ควรเกิน 150 mg/dl
  3. Low-density lipoprotein (LDL-cholesterol) เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยไขมัน และโปรตีนทำหน้าที่เป็นตัวพาคลอเลสเตอรอลในเลือด เรามักเรียกไขมันชนิดนี้ว่า ไขมันเสีย (bad) เพราะเมื่อไขมันชนิดนี้มีมากเกินไปในหลอดเลือดจะทำให้เกิดการสะสมจนเกิดการอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบตัน โดยมีค่าปกติไม่ควรเกิน 100 mg/dl
  4. High-density lipoprotein (HDL-cholesterol) เป็นโมเลกุลที่ทำหน้าที่ดูดซับคลอเลสเตอรอล และนำกลับสู่ตับซึ่งเป็นศูยน์กลางเมทาบอลิซึมของไขมัน หรือพูดง่ายๆ ก็คือคอยทำหน้าที่กำจัดคลอเลสเตอรอลออกจากเลือดของเรา ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด เราจึงนิยมเรียกว่า ไขมันดี ค่าปกติคือยิ่งสูงยิ่งดี  แต่ถ้าต่ำกว่า 40 mg/dl จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

การทำงานของตับ (Liver function test)

1. Alanine aminotransferase (ALT)
      ALT หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Serum Glutamic Pyruvic Transaminase (SGPT) เป็นเอนไซม์ตัวหลักที่พบได้ในตับ ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติของตับจึงทำให้สามารถตรวจพบ ALT สูงขึ้นมากกว่าปกติในเลือดได้ และ ALT ถือเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีสำหรับการตรวจประเมิณการอักเสบของตับ (hepatitis)

      ค่าปกติ : 0 - 48 U/L
      ค่าสูง พบใน โรคตับ หรือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus) จะสูงถึง 40 เท่า

2. Aspartate aminotransferase (AST)
       AST หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Serum Glutamic Oxalocetic Transaminase (SGOT) เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในตับเช่นเดียวกับ ALT แต่ AST มีความจำเพาะต่อตับน้อยกว่า ALT เนื่องมาจาก AST เป็นเอนไซม์ที่ยังสามารถพบได้ในอวัยวะอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น หัวใจ หรือกล้ามเนื่อลาย โดยปกติมักตรวจคู่กับ ALT เพื่อประเมิณการทำงานของตับเบื้องต้น

      ค่าปกติ: 0 - 42 U/L
      ค่าสูง พบใน ภายหลังภาวะ Heart Attack , โรคตับ, โรคการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ


3. Alkaline phosphatase (ALP)
      ALP เป็นเอนไซม์ที่พบได้มากในเซลล์เยื่อบุผิวของท่อน้ำดีที่อยู่ในตับ ดังนั้นเมื่อเกิดการอุดตันท่อน้ำดีก็จะทำให้เกิดการอักเสบเซลล์เยื่อบุผิวของท่อน้ำดีและทำให้ ALP นั้นถูกปล่อยออกมามากทำให้เราสามารถตรวจพบ ALP เพิ่มสูงขึ้นในกระแสเลือดได้นั่นเอง อย่างไรก็ตามในกระดูกก็พบว่ามีการสร้าง ALP ออกมาได้เช่นกัน

      ค่าปกติ : 20 - 125 U/L     
     ค่าสูง  เป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะการอุดตันของท่อน้ำดี 
     ค่าต่ำ  เป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะขาดโปรตีน ขาดอาหาร ขาดวิตามิน

4. Albumin     albumin เป็นโปรตีนส่วนใหญ่ที่พบในกระแสเลือด ถูกสร้างมาจากตับ โดยปกติแล้ว albumin ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมแรงดันออสโมติกของเลือด และทำหน้าที่เป็นโปรตีนตัวพา (carrier) ของสารโมเลกุลที่ไม่ชอบละลายในน้ำ เช่น steroid hormone ซึ่งจะทำให้ hormone เหล่านั้นละลายในน้ำและไหลไปตามกระแสเลือดสู่อวัยวะเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     ค่าปกติ: 3.2 - 5.0 g/dl     
    ค่าต่ำ แสดงถึง ภาวะขาดอาหาร ท้องเสีย ไข้ ติดเชื้อ โรคตับ ขาดสารอาหารประเภทเหล็ก


5. Albumin/Globulin Ratio (A/G ratio)
      A/G ratio เป็นอัตราส่วนของโปรตีน 2 ชนิดที่สำคัญที่อยู่ในเส้นเลือด ได้แก่ Albumin ต่อ Globulin ซึ่งทั้งสองตัวถูกสร้างโดยตับ ดังนั้นเมื่ออัตราส่วนของทั้งสองโปรตีนผิดปกติไปบ่งบอกถึงภาวะการทำงานของตับผิดปกติได้ หรือภาวะการติดเชื้อบางชนิด บางครั้งก็ตรวจในรายการ total protein (TP) ไปเลยก็ได้ครับ

     ค่าปกติ : 0.8 - 2.0
     ค่าต่ำ พบได้ในโรคที่เกี่ยวข้องกับตับ ไต และการติดเชื้อบางชนิด
     ค่าสูง เกินไปไม่มีความสำคัญมากนัก

6. Bilirubin
     Bilirubin เป็นสารที่เกิดจากขบวนการสลายฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุหรือเม็ดเลือดแดงที่แตกสลายจากภาวะบางอย่าง โดยขบวนการนี้เกิดขึ้นที่ม้าม หลังจากนั้น bilirubin จะถูกส่งมาที่ตับและตับจะขับสารนี้ออกจากเลือดทางน้ำดี ซึ่ง bilirubin เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงภาวะการทำงานของตับได้เช่นกัน

     ค่าปกติ : 0 - 1.3 mg/dl
     ค่าสูง การทำงานของตับผิดปกติเช่น ตับอักเสบ ภาวะตับล้มเหลว และท่อน้ำดีอุดตับทำให้ตับไม่สามารถกำจัด bilurubin ออกจากร่างกายได้ หรือภาวะเลือดถูกทำลายมากเกินไปตับไม่สามารถกำจัดออกได้ทันนั่นเอง


การทำงานของไต (Renal function test)

1. BLOOD UREA NITROGEN (BUN)
     BUN เป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย และจะถูกกำจัดออกจากร่างกายผ่านทางไต เมื่อปริมาณ BUN ในเลือดสูงขึ้นอาจเปิดจากการกำจัดสารออกจากร่างกายได้ไม่ดี หรือการทำงานของไตมีปัญหานั่นเอง 

     ค่าปกติ : 7 - 25 mg/dl    
    ค่าสูง   การทำงานของไตผิดปกติ หรือการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป  หรือยาบางชนิด
     ค่าต่ำ   บ่งชี้ว่าขาดอาหาร การดูดซึมอาหารไม่ดี ตับเสีย

2. Creatinine
      Creatinine เป็นของเสียที่เกิดจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ที่สามารถพบได้ในเลือด และถูกขับออกทางไตในอัตราที่คงที่ เมื่อการทำงานของไตผิดปกติก็จะส่งผลต่อการกำจัด creatinine ในเลือด จึงใช้ค่านี้บ่งชี้ภาวะการทำงานของไตได้

    ค่าปกติ : 0.7 - 1.4 mg/dl
    ค่าสูง  สูงควบคู่ BUN บ่งบอกถึงการทำงานของไตที่เสื่อมสภาพจากภาวะบางอย่าง
    ค่าต่ำ  พบได้ใน โรคไต โรคตับ

CO2 (Carbon Dioxide)

ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์มีความสัมพันธ์กับการฟอกเลือดเพื่อแลกเปลี่ยนอากาศที่ปอด

ค่านี้ใช้ประกอบกับการตรวจสารประเภทเกลือแร่ต่างๆภายในร่างกายเพื่อเป็นประโยชน์

ในการบ่งชี้ภาวะความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย

Range: 22 - 32 mEq/L



CALCIUM

เป็นเกลือแร่ที่มีมากที่สุดภายในร่างกาย ระดับภายในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงแคบๆ

มีความสำคัญมากกับการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ การแข็งตัวของเลือด และอื่นๆ

ค่าที่สูงบ่งชี้ถึง ภาวะการทำงานมากเกินของฮอร์โมนพาราธัยรอยด์ โรคกระดูก

ทานอาหารที่มีแคลเช๊ยมมากเกินไป ยาบางชนิด

ภาวะที่แคลเซี่ยมต่ำอาจทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ มีสาเหตุจาก การทำงานน้อยกว่า

ปกติของต่อมพาราธัยรอยด์ โรคไต ภาวะพร่องวิตามิน D

Range: 8.5 - 10.3 mEq/dl

CHLORIDE

เป็นเกลือแร่ที่สำคัญตัวหนึ่งที่สำคัญในการดำรงอยู่ของเซลล์

ค่าสูง สัมพันธ์กับภาวะความเป็นกรดของเลือด

ค่าต่ำ ร่วมกับค่า Albumin ที่ต่ำลง หมายถึงภาวะบวมน้ำ

Range: 95 - 112 mEq/L




FERRITIN

คือโปรตีนที่มีส่วนประกอบของแร่เหล็กด้วย พบในเซลล์ และในเลือด

เป็นค่าบ่งชี้สถานะของแร่เหล็กภายในร่างกาย

ค่าสูง พบได้ในสภาวะหลายๆอย่างได้แก่ การอักเสบทั้งชนิดที่ติดเชื้อ

และไม่ติดเชื้อ โรคตับ Hemochromatosis






 โลหิตวิทยา (Hematology) 

HEMATOCRIT (HCT)

วัดความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในเลือด ปกติเท่ากับ 45 % โดยทั่วไปผู้หญิงจะต่ำกว่าผู้ชาย


ค่าสูง คือ ภาวะขาดน้ำ

ค่าต่ำ คือ โลหิตจาง

Range: 37 - 54 %


HEMOGLOBIN (HGB)

เป็นสารสีแดงที่สำคัญในเม็ดเลือดแดง กล่าวคือทำหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่เซลล์ นำคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปขับออกที่ปอด พบในเม็ดเลือดแดงมากถึง

1 ใน 3 ของเม็ดเลือดแดง


ค่าต่ำ หมายถึง ขาดอาหาร เสียเลือดมาก

Range: 14 - 18 %


IRON

เหล็กมีความจำเป็นในการสร้าง โปรตีน ฮีโมโกลบิน Cytochrome & Myoglobin


ค่าสูง พบใน ตับเสื่อมเสียหาย , Pernicious anemia, Hemolytic anemia,

Hemochromitosis

ค่าต่ำ พบในโลหิตจาง ขาดแร่ธาตุทองแดง ทานวิตามินซีน้อย โรคตับ

การติดเชื้อเรื้อรัง ทานแคลเซียมมากไป หญิงมีรอบเดือนมาก

Range: 30 - 170 mcg/dl


LAH (Lactic Acid Dehydrogenase)

เป็นเอ็นไซม์พบที่ไต หัวใจ กล้ามเนื้อ สมอง ตับ ปอด


ค่าสูง พบใน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อปอดตาย

Range: 0 - 250 u/L


LDH (Lactate Dehydrogenase)

เป็นเอ็นไซม์ในเซลล์ส่วนใหญ่ทั่วร่างกาย

ดังนั้นถ้าเซลล์ตาย LDH จะถูกปลดปล่อยออกมา


ค่าสูงเพิ่มเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ค่าอื่นที่เกี่ยวข้องไม่เกี่ยวข้อง ไม่ถือว่าผิดปกติอะไร

LDL ตรงข้ามกับ HDL ยิ่งมากยิ่งไม่ดี


ค่าสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดแข็ง

Range: 62 - 130 mg/dl


LYMPHOCYTES

เป็นเม็ดเลือดขาวที่ต่อต้านกับเชื้อโรคโดยเฉพาะไวรัส เช่น หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส


ค่าสูง จึงมักหมายถึงการติดเชื้อไวรัส

ค่าต่ำ หมายถึง ภาวะภูมิคุ้มกันไม่ดี ขณะเดียวกัน ถ้า Neutrophil สูงขึ้นหมายถึงภาวะมีการติดเชื้อ

Range: 18 - 48 %


MCHC (Mean Corpuscular Hemoglobin Concentration) ตรวจวัดค่าความเข้มข้น

ของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง มีประโยชน์ในการ

ประเมินผลการรักษาโรคโลหิตจาง


ค่าสูง พบได้ใน Spherocytosis

ค่าต่ำ พบได้ใน ภาวะขาดเหล็ก, สูญเสียเลือด, ธาลัสซีเมีย

Range: 32 - 36 %


MONOCYTES

เป็นเซลล์ที่มีประโยชน์ในการต่อสู้กับเชื้อจุลินทรีย์ในการติดเชื้อ เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

ในระบบการไหลเวียนโลหิต


ค่าสูง หมายถึง การอักเสบเรื้อรัง, มะเร็ง, ลิวคีเมีย

ค่าต่ำ แสดงถึงภาวะสุขภาพไม่ดี

Range: 0 - 9 %


PHOSPHORUS

เป็นแร่ธาตุที่มีมากในร่างกาย ( แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุด )

อาหารที่รับประทานมีผลต่อ Phosphorus ในเลือดมาก

ตัวนี้จะต้องดูควบคู่ไปกับระดับแคลเซียมในเลือด เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญ

ในการเคลื่อนย้ายของแคลเซียม และ รักษาความเป็นกรดด่างภายในร่างกาย


Range : 2.5 - 4.5 mEq/dl


POTASSIUM

เป็นแร่ธาตุ พบมากภายในตัวเซลล์มากกว่าในเลือดถึง 25 เท่า

มีความสำคัญมากในการทำงานของเซลล์ การทำงานของกล้ามเนื้อ

และหัวใจ ถือเป็นตัวที่มีความสำคัญมาก


ค่าต่ำ พบได้ในกรณี อาเจียนอย่างรุนแรง ท้องร่วง โรคไต ได้รับยาขับปัสสาวะบางตัว

Range: 3.5 - 5.5 mEq/L


PLATELETS

เป็นชิ้นส่วนของเม็ดเลือดแดง มีขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงมาก

ในเลือด 1 หยด จะมีเม็ดเลือดแดง 5,000,000 เซลล์ มีเกล็ดเลือดประมาณ

140,000 - 450,000 มีความสำคัญในการแข็งตัวของเลือดเมื่อมีแผลเพื่อ

ป้องกันการเสียเลือดมากเกินไป


ค่าสูง ได้แก่ โรคของไขกระดูกซึ่งเป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด

ค่าต่ำ อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน และอีกหลายๆโรค

Range : 130 - 400 thous


PROTEIN

โปรตีนมีความสำคัญมาก เป็นเอ็นไซม์ต่างๆ ฮอร์โมน ภูมิคุ้มกัน

ปรับรักษาระดับความเป็นกรด ด่างในร่างกาย เป็นอาหาร แหล่งพลังงาน

มีโปรตีนที่สำคัญหลายชนิด ที่น่าสนใจได้แก่ Albumin และ Globulin


ค่าสูง พบได้ใน Lupus, โรคตับ, การอักเสบเรื้อรัง, ลิวคีเมีย, อื่นๆ

ค่าต่ำ พบใน ขาดอาหาร, โรคตับ , การดูดซึมอาหารไม่ดี

Range : 6.0 - 8.5 g/dl


RED BLOOD CELL COUNT (RBC)
 เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่นำพาออกซิเจนไปตามเลือด

ไปให้เซลล์ต่างๆและ

ขนคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปทิ้งที่ปอด

ในเลือดหยดหนึ่ง มีเม็ดเลือดแดงมากถึงประมาณ 5 ล้านเซลล์

ถูกผลิตจากไขกระดูก


Range : 4.2 - 5.6 mill/mcl


RETICULOCYTE COUNT

คือเม็ดเลือดแดงที่ยังอ่อนอยู่ ซึ่งไม่ควรมีมากนักในเลือด


SODIUM

เป็นแร่ธาตุ เป็น 1 ใน 4 ของแร่ธาตุที่พบมากในร่างกาย

มีความสำคัญต่อความสมดุลย์ของเกลือและน้ำ การนำกระแสประสาท


ค่าสูง พบใน สูญเสียน้ำมากเกินไป

ค่าต่ำ พบใน ท้องร่วง, โรคไต

Range: 135 - 146 mEq/L





TRIGLYCERIDES

คือรูปแบบของไขมันที่พบได้ในธรรมชาติ และรูปแบบของไขมันที่ถูกเก็บ

ในร่างกายซึ่งจะถูกเก็บในเซลล์ไขมัน (Adipose Tissue) มีหน้าที่หลักคือ

เป็นแหล่งของพลังงาน ระดับภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงตามอาหารที่ทาน

และอัตราการกำจัดออก


ค่าสูง พบได้ใน Artherosclerosis, Hypothyroidism, โรคตับ,

ตับอ่อนอักเสบ, Myocardial Infarction, Metabolic disorders,

Toxemia, Nephrotic Syndrome

ค่าต่ำ พบได้ใน Chronic obstructive pulmonary disease,

Brain infarction, hyperthyroidism, malnutrition, malabsorption

Range : 0 - 200 mg/dl


URIC ACID

เป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ ( metabolism ) ซึ่งจะถูกขับถ่ายโดยไต


ค่าสูง พบได้ใน ทานอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะประเภทเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว

์ , โรคเก๊าท์ , โรคไต, เบาหวาน, กำลังทานยาขับปัสสาวะบางชนิด

ค่าต่ำ พบใน โรคไต, Malabsorption, poor diet, liver damage

Range : 3.5 - 7.5 mg/dl


WHITE BLOOD CELL COUNT (WBC)

เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด มีหน้าทีในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่มารุกราน


ค่าสูง พบใน การติดเชื้อ , การบาดเจ็ล , หลังผ่าตัด

ค่าต่ำ พบใน ภาวะบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน

Range : 3.8 - 10.8 thous/mcl


PLASMA THROMBIN TIME (THROMBIN CLOTTING TIME)

ตรวจสอบสภาพของ Fibrinogen เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด

เป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคตับ


Range : 10 - 15 วินาที


PLASMA AMMONIA

ตรวจสภาพตับ วัดผลการรักษาโรคตับว่าอาการทรุด หรือ ฟื้นได้ดีเพียงใด

ถ้าค่ายิ่งสูงจะหมายถึงสภาวะโคม่าของตับ


TOTAL PROTEIN TEST


ค่าสูง พบใน Polyclonal or monoclonal gammopathies, marked

dehydration, ยาบางชนิด ได้แก่ Anabolic steroids, Androgens,

Corticosteroids, Epinephrine


ค่าต่ำ พบใน Protein-losing gastroenteropathis, acute burns,

nephrotic syndrome, severe dietary protein deficiency,

chronic liver disease,

malabsorption syndrome, agammaglobulinemia





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

การงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือดทำอย่างไร

การงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด (Fasting before blood tests)           ในปัจจุบันการตรวจเลือดเป็นวิธีพื้นฐานทางการแพทย์ที่จะใช้ในการวินิจฉัย ประเมิน และติดตามการรักษาโรค   ซึ่งในการตรวจเลือดบางรายการเช่น น้ำตาลและไขมันนั้น สารอาหารที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้ค่าการตรวจเลือดผิดพลาดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการงดน้ำ และอาหารข้ามคืนก่อนที่จะดำเนินการเจาะเลือดเพื่อตรวจในห้องปฏิบัติการ   โดยคำถามที่มักพบสำหรับผู้ป่วยที่อาจไม่ทราบมาก่อนว่าต้องงดอย่างไร ระยะเวลาเท่าไหร่ ทำไมบางครั้งอดในระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน หรือบางครั้งไม่ต้องอดอาหารเลย ซึ่งทั้งหมดมีคำตอบให้ในบทความนี้ครับ           วิธีปฏิบัติสำหรับการงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด           การอด หรืองดอาหาร หมายถึงห้ามกินอาหารชนิดใด ๆ เลย รวมถึงลูกอม น้ำหวาน น้ำผลไม้ กาแฟ และอื่นๆ ที่มีรสชาติ สิ่งเดียวที่สามารถทานได้คือ น้ำเปล่า เท่านั้นครับ เพราะสารอาหารเหล่านี้จะไปรบกวนการตรวจ และอาจทำให้ผลการวิเคราะห์ผิดพลาดไป ส่งผลต่อการวินิจฉัย และการรักษาโดยตรงครับ เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติตามหลักการอย่างถูกต้องนะค

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran