ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2 virus) หรือโควิด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด (COVID-19) คือ โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ โคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ Severe Acute Respiratory Syndrome-Coronavirus-2 (SARS-CoV-2) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในกลุ่มไวรัสโคโรนาที่สามารถก่อโรคได้ตั้งแต่ไข้หวัดที่มีอาการธรรมดาไปจนถึงอาการรุนแรง ตัวอย่างของไวรัสในกลุ่มโคโรนาได้แก่  Middle East Respiratory Syndrome หรือ MERS-CoV ที่เคยระบาดในไทยก่อนหน้านี้ และ Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS-CoV) ที่เป็นสายพันธุ์ที่มีมาก่อน 

ไวรัส COVID-19 หรือ SARS-CoV-2 มีลักษณะทางชีววิทยาที่สำคัญดังนี้:
โครงสร้างทางชีววิทยา
จีโนม: SARS-CoV-2 มีจีโนมเป็น RNA ขนาดประมาณ 29,903 คู่เบส ซึ่งมีลำดับพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกับไวรัส SARS-CoV ร้อยละ 79.57 และกับไวรัสที่พบในค้างคาว (RatG13) ร้อยละ 96.11
โปรตีนโครงสร้าง: ไวรัสประกอบด้วยโปรตีนโครงสร้างหลัก 4 ชนิด ได้แก่:
โปรตีนหนาม (Spike protein): ทำหน้าที่ในการยึดเกาะและเข้าสู่เซลล์เจ้าบ้าน โดยจับกับตัวรับ ACE2 บนเยื่อหุ้มเซลล์
โปรตีนเปลือก (Envelope protein): มีบทบาทในการสร้างเปลือกหุ้มไวรัส
โปรตีนผิว (Membrane protein): ช่วยในการสร้างและรักษาโครงสร้างของไวรัส
โปรตีนนิวคลีโอแคปซิด (Nucleocapsid protein): ทำหน้าที่ประคองสารพันธุกรรมภายในไวรัส

กลไกการติดเชื้อ
เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะใช้โปรตีนหนามในการจับกับ ACE2 บนเซลล์เจ้าบ้าน จากนั้นจะปลดปล่อยสารพันธุกรรม RNA เข้าไปในไซโตพลาสซึมของเซลล์ เพื่อเริ่มกระบวนการจำลองแบบและสร้างอนุภาคไวรัสใหม่

การแพร่กระจาย
การติดเชื้อเกิดขึ้นหลักๆ ผ่านทางละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจาม ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ง่ายในระยะใกล้เคียงกัน

วิวัฒนาการและการกลายพันธุ์
SARS-CoV-2 มีความสามารถในการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างในด้านการแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรค

ความรุนแรงของโรคติดเชื้อโควิด (COVID-19) 

ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการทางระบบทางเดินหายใจตั้งแต่อาการน้อยจนถึงปานกลาง และสามารถหายได้เองโดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการรักษาแบบพิเศษ อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะมีอาการที่รุนแรงและจำเป็นต้องดูแลรักษาอย่างไกล้ชิด ได้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือโรคอื่นๆ ที่มีแนวโน้มจะแสดงอาการที่รุ่นแรง

ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อผ่านทางช่องทางปากและจมูกในรูปแบบละอองขนาดเล็กเมื่อมีการไอ จาม พูด หรือหายใจ 

การป้องกันการติดเชื้อโควิด (COVID-19)

  • ฉีดวัคซีนเชิ้อโควิด
  • เว้นระยะห่างทางสังคม 
  • ใส่หน้ากากอนามัย
  • ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ
  • หากมีอาการเจ็ปป่วยให้พักรักษาตัวแยกออกจากกลุ่มสังคม

อาการของผู้ที่ติดเชื้อโควิด (COVID-19) 

อาการที่พบได้บ่อย
  • มีไข้
  • ไอ
  • อ่อนเพลีย
  • สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้
  • เจ็บคอ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  • ท้องเสีย
  • มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
  • ตาแดงหรือระคายเคืองตา


แหล่งอ้างอิง

https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1

https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าส...

DNA ตอนที่ 1 : DNA คืออะไร และโครงสร้างของ DNA

สารพันธุกรรม (genetic materials) ห มายถึงสารที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งสิ่งมีชีวิตระดับโปรคาริโอต (prokaryote) และยูคาริโอต (eukaryote) โดยสารพันธุกรรมประกอบด้วย ดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid หรือ DNA) และอาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid หรือ RNA) การเก็บรักษาข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการเรียงลำดับของหน่อยย่อยที่สุดของ DNA และ RNA อย่างเป็นระเบียบและมีความหมาย ซึ่งหน่อยย่อยของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอเราเรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) สิ่งมีชีวิตจะทำการแปลรหัสข้อมูลนิวคลีโอไทด์เหล่านี้ออกมาเป็นโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ของเซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อไปผ่านการทำงานร่วมกันตั้งแต่ DNA RNA ไปจนถึงขั้นตอนการสั่งเคราะห์โปรตีน อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางประเภทจะเก็บข้อมูลพื้นฐานของตัวเองในรูปแบบของ RNA เท่านั้น เช่นไวรัสในกลุ่มรีโทรไวรัส หรือที่เรารู้จักกันดีก็คือไวรัสโควิด ภาพที่ 1 แสดงโครงสร้างจำลองของ DNA ที่มาภาพ : http://becuo.com/red-dna-wallpaper   DNA (deoxyribonucleic acid )                  D...

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพั...