ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

งานของเทคนิคการแพพทย์

        หน่วยงานหน้าที่ที่นักเทคนิคการแพทย์รับผิดชอบในโรงพยาบาลจะแบ่งเป็นหลายๆหน่วย ด้วยกันนะครับ ซึ่งเมื่อเราเข้าไปทำงานแล้วก็ขึ้นอยู่กับว่าเราสมัครเข้ามาในตำแหน่งไหน หรือว่าตำแหน่งไหนว่าง  แต่โดยรวมแล้วเราต้องสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งหมดนะครับ เพียงแต่ในส่วนลึกหรือความรับผิดชอบ การจัดระเบียบเราก็จะรับผิดชอบเป็นหน่อยงานไป

แบ่งเป็น (คร่าวๆนะครับ แต่ละ รพ. ก็จะมีการจัดที่แตกต่างกันออกไป)

1. งานด่านหน้า หรือ หน่วยงานผู้ป่วยนอก(OPD) 
         ทำหน้าที่เกี่ยวกับจัดการกับสิ่งส่งตรวจ เช่น เจาะเลือด แนะนำผู้ป่วยในการเก็บสิ่งส่งตรวจต่างๆ เช่น การเก็บปัสสาวะ  อุจจาระ เป็นต้นครับ  นอกจากนั้นเทคนิคการแพทย์ยังคอยทำหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลการทำงานของผู้ช่วยเทคนิคการแพทย์ หรือนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการงานที่กระทำต่อผู้ป่วย เช่น เจาะเลือดครับ อันนี้เป็นข้อกฏหมายครับเพราะเทคนิคการแพทย์เป็นวิชาชีพมีใบประกอบโรคศิลป์นั่นเอง  นอกนั้นการลงทะเบียนจัดการเอกสารต่างๆจะมีเจ้าหน้าที่ธุระการต่างหากครับ

2. ห้องปฏิบัติการกลาง (Central Lab)
        จะเป็นห้องที่รวมงานทางด้านต่างๆที่สามารถรวมไว้เป็นห้องเดียวกันได้ (มีบางงานที่ต้องแยกออกไปเฉพาะ) เพื่อประหยัดเวลา  การจัดแจงอุปกรณ์ต่างๆ ความสะดวกของเจ้าหน้าที่  โดยมักจะประกอบไปด้วยงานทางด้านโลหิตวิทยา  งานเคมีคลินิก  งานภูมิคุ้มกันวิทยา  งานตรวจสารน้ำในร่างกาย(ปัสสาวะ น้ำไขสันหลัง)

3.ห้องจุลชีววิทยา
      เป็นห้องที่ทำงานเกี่ยวกับการเพาะเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา การวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียและรา  ห้องนี้มักจะถูกจัดแยกออกจากงานทางด้านอื่นๆครับ เพราะต้องการความสะอาด ปลอดเชื้อครับ เลยจำเป็นต้องแยกออกมาต่างหากป้องกันการปนเปื้อนนั่นเอง

4.ห้องธนาคารเลือด 
     หลายคนคงรู้จักกันดีครับ แต่รู้ไหมครับในงานธนาคารเลือดนั้น เทคนิคการแพทย์ถือมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากเลยในงานส่วนนี้ครับ เพราะเลือดที่ได้รับบริจาคมานั้นต้องมีการตรวจหาเชื้อโรคก่อนครับว่ามีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยหรือเปล่า นอกจากนั้นเลือดที่เราจะทำการให้ผู้ป่วยนั้น แค่ตรงหมู่กันอย่างเดียวไม่สามารถให้ได้เลยในทันทีนะครับ ต้องมาทำการตรวจการเข้ากันได้ของเลือดเสียก่อนครับ เพราะจริงๆแล้วหมู่เลือดของเรานั้น ไม่ได้มีแค่หมู่ ABO หรือ Rh ครับยังมีหมู่เลือดอื่นๆอีกมากที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้  ที่กล่าวมาทั้งหมด หน้าที่ของเทคนิคการแพทย์ครับ



#เทคนิคการแพทย์คืออะไร#เทคนิคการแพทย์ทำงานอะไร#เทคนิคการแพทย์เกี่ยวกับอะไร#เทคนิคการแพทย์#
#เทคนิคการแพทย์คืออะไร#เทคนิคการแพทย์ทำงานอะไร#เทคนิคการแพทย์เกี่ยวกับอะไร#เทคนิคการแพทย์#
#เทคนิคการแพทย์คืออะไร#เทคนิคการแพทย์ทำงานอะไร#เทคนิคการแพทย์เกี่ยวกับอะไร#เทคนิคการแพทย์#
#เทคนิคการแพทย์คืออะไร#เทคนิคการแพทย์ทำงานอะไร#เทคนิคการแพทย์เกี่ยวกับอะไร#เทคนิคการแพทย์#

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)             โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว (long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน             กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย (monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน (NH 3 ) หมู่คาร์บอกซิล (COO - ) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ท

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran