ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

HbA1c คืออะไร หรือ ค่าน้ำตาลสะสม คืออะไรมาดูกัน


       HbA1c (Hemoglobin A1C หรือ ฮีโมโกลบิน เอวันซี) มีชื่อเรียกในทางวิทยาศาสตร์คือ glycated haemoglobin ซึ่งเกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือดเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับน้ำตาลที่อยู่ในเลือด ซึ่งโปรตีนตัวนี้เรารู้จักกันดีในชื่อ ฮีโมโกลบิน (Haemoglobin) ที่พบได้อยู่ในเม็ดเลือดแดงนั่นเองโดยทำหน้าที่เป็นตัวพาก๊าชออกซิเจน (O2) ที่จำเป็นต่อร่างกายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ผ่านทางกระแสเลือด 
       ในบุคคลทั่วไปมักจะเรียก HbA1c ให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า น้ำตาลสะสม / น้ำตาลเฉลี่ยซึ่งจะเป็นการตรวจติดตามระดับน้ำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (diabetes mellitus, DM) ในระยะเวลาเฉลี่ย 2-3 เดือน โดยการเตรียมก่อนเจาะเลือดเพื่อตรวจ HbA1c ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือดเหมือนกับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดครับ

HbA1c ต่างจากการตรวจน้ำตาลปัจจุบันอย่างไร?
      HbA1c มีความพิเศษอยู่ที่ระยะเวลาหลังจาก Hb เปลี่ยนเป็น HbA1c แล้วจะคงอยู่ในเลือดของเราได้นานถึง 8-12 สัปดารห์ ก่อนที่จะสลายตัวไป และในขณะเดียวกันก็เกิดการสร้าง Hb ขึ้นมาทดแทนและเปลี่ยนเป็น HbA1c แทนที่ ซึ่งการตรวจวัดระดับของ HbA1c จึงบ่งบอกถึงค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือด ณ ช่วงเวลา และยังบ่งชี้ถึงการควบคุมน้ำตาลโดยภาพรวม (long-term of blood glucose control)
       ดังนั้นจะเห็นได้ว่าระดับของ HbA1c จะบ่งบอกถึงค่าเฉลี่ยของน้ำตาลเป็นช่วงเวลา ส่วนการตรวจน้ำตาล (glucose) จะบ่งบอกถึงระดับน้ำตาลในเลือด ณ เวลานั้น ๆ  ซึ่งคนไข้บางคนไม่ได้ควบคุมระดับน้ำตาลอย่างถูกต้อง แต่จะงดหวาน งดน้ำตาลเฉพาะวันก่อนที่จะมาพบแพทย์เท่านั้นเพื่อให้การตรวจน้ำตาลไม่สูงเกินไปและไม่ถูกหมอผู้ดูแลตำหนิ แต่การตรวจ HbA1c นั่นการงดหวาน/อาหารต้องห้าม จะไม่มีผลต่อระดับ HbA1c ในระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้การคาดการการควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยทำได้ถูกต้องมากกว่า


ระดับของ HbA1c ที่สูงบ่งบอกถึงอะไร ?
      ระดับของ HbA1c ที่สูงบ่งบอกถึงระดับน้ำตาลเฉลี่ยในช่วงเวลา 2-3 เดือนมีค่าสูง ซึ่งจะบ่งชี้ไปถึงการควบคุมระดับน้ำตาลที่ผิดปกติ/ การปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องกับโรค และยังบ่งชี้ถึงโอกาสความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน 

เมื่อรู้อย่างงี้แล้ว ผู้ป่วย หรือบุคคลที่ต้องดูแลผู้ป่วยก็จะมีความเข้าใจมากขึ้นถึงผลการตรวจเลือดนะครับหวังหว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามเราควรใส่ใจที่การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และการควบคุมระดับน้ำตาล มากกว่าผลการตรวจที่ออกมาดีครับ ส่วยเรื่องการวินิจฉัยผลเลือดปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพจะดีกว่าครับ

ขอบคุณที่ติดตามบทความครับ

HbA1C คืออะไร ?
ค่าน้ำตาลสะสม คืออะไร ?
ค่าน้ำตาลเก่าคืออะไร ?


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)             โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว (long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน             กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย (monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน (NH 3 ) หมู่คาร์บอกซิล (COO - ) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ท

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran