ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) คืออะไร?

   

           โรคเบาหวานเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในประชากร โดยพบประมาณ 1-3% ของประชากรไทยและส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ โดยโรคเบาหวานนั้นเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในร่างกาย(เลือด)ได้อย่างปกติ ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ คือมี ค่าน้ำตาลหลังอดอาหารมาแล้ว 8 ชั่วโมง หรือ Fasting blood glucose มากกว่า 100 mg/dL

           ระดับน้ำตาลในเลือดถูกควบคุมโดยการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน(Insulin) และกลูคากอน(glucagon) แต่ตัวที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานคือ การทำงานที่ผิดปกติของฮอรโมนอินซูลินทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆในร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงนั่นเองเพราะอินซูลินมีหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ------> สาเหตุที่ทำให้ระบบการทำงานของอินซูลินผิดปกติมีหลายสาเหตุทำให้เราแบ่งโรคเบาหวานออกเป็น 2 ชนิดหลักๆตามสาเหตุและกลไกความผิดปกติ

               โรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 : เชื่อกันว่ามีสาเหตุมาจากพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ หรืออาจเกิดจากความผิดปกติที่ร่างกายไปสร้าง antibody ทำลาย beta cells ในตับอ่อนซึ่งเป็นอวัยวะที่สร้างอินซูลิน -----> ดังนั้นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั่นจะพบมากกับเด็กหรือคนที่มีอายุยังไม่มาก โดยผู้ป่วยจะต้องรับการฉีดฮอร์โมนอินซูลินตลอดชีวิต
               โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 : เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน(insulin resistance) ทำให้ร่างกายไม่มีการตอบสนองต่ออินซูลินแต่ร่างกายยังมีการสร้างอินซูลินปกติ หรือบางรายอาจพบว่าเกิดจากภาวะการสร้างอินซูลินต่ำทำให้ร่างกายกำจัดน้ำตาลออกจากกระแสเลือดได้ไม่ดี ซึ่งสาเหตุมาจากความเสื่อม ของ beta-cells ในตับอ่อน -----> จึงพบอุบัติการ์ณของเบาหวานชนิดที่ 2 มากในผู้สูงอายุนั่นเอง

อาการของโรคเบาหวาน
           มีอาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนหนึ่งที่มักจะพบบ่อยและเราสามารถนำอาการเหล่านี้ไปสังเกตตนเองและคนไกล้ตัวได้เบื้องต้น แต่ทั้งนี้ระดับของอาการนั่นจะแตกต่างกัน หรืออาการที่แสดงออกอาจไม่เหมือนกัน อาการเหล่านี้ได้แก่
  1. ถ่ายปัสสาวะบ่อย น่าจะสังเกตด้วยตนเองได้ง่ายสุดแล้วครับ
  2. กระหายน้ำผิดปกติ และหิวตลอดเวลา
  3. รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อย
  4. น้ำหนักลดผิดปกติ(มักพบในเบาหวานชนิดที่ 1)
  5. ตามัว (ภาวะแทรกซ้อน) ถ้ามีอาการนี้ควรรีบพบแพทย์เลยนะครับ แสดงว่ามีการดำเนินของโรคมาไกลแล้วพอสมควร
  6. มีแผลที่หายยาก
  7. เหน็บชาที่มือและเท้า
  8. มีการติดเชื้อได้ง่าย
          อาการดังกล่าวข้างต้นโดยปกติแล้วผู้ป่วยโดยทั่วไปมักจะไม่แสดงอาการในระยะแรกๆ จนเมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์มักจะเป็นมากแล้วจนมีโรคหรือ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน  ตามมา เช่น จอตาเสื่อม ไตเสื่อม เป็นต้นครับ  ดังนั้นเราจึงจำเป็นมั่นตรวจสุขภาพประจำปีนะครับ จะดีกับตัวเรามากที่สุด อย่าให้เกิดเหตุการ์ณที่ต้องไปพบแพทย์ด้วยอาการเล็กๆน้อยๆแล้วต้องมาทราบว่าเราเป็นโรคเรื้องรังนะครับ

ความอันตรายของโรคเบาหวาน (Complications of DM)
            ระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานรักษาได้โดยการควบคุมหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของเราเป็นหลัก แต่ระดับน้ำตาลในเลือกนั่นไม่ได้มีความอันตรายต่อผู้ป่วยโดยตรงเพียงแค่ควบคุมให้อยู่ในระดับที่แพทย์สั่งเท่านั้น จะมีอันตรายก็ต่อเมื่อมันเพิ่มขึ้นสูงหรือลดลงต่ำจนถึงค่าวิกฤต(critical value) จนอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้   แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานคือ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน หรือ Complications of DM  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสียชีวิต อาการเหล่านี้ได้แก่

  1. Retinopathy : จอตาเสื่อมและนำไปสู่ตาบอด
  2. Nephropathy : นำไปสู่ไตวายในที่สุด 
  3. Neuropathy : มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น มือ เท้ามีอารการชา ไร้ความรู้สึก 
  4. Altherosclerosis : ผู้ป่วยมีปัญหาทางระบบหลอดเลือดทั้งเส้นเลือดขนาดใหญ่ ที่จะนำไปสู่หลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันจนเกิดหัวใจขาดเลือดได้ และเส้นเลือดขนาดเล็กที่เป็นสาเหตุของอาการแทรกซ้อนในข้อ 1-3 ข้างต้น 
              นอกจากนั้นการที่แผลของผู้ป่วยหายช้าก็เป็นผลมาจากหลอดเลือดที่ผิดปกตินี้เช่นกัน โดยคาดว่าสาเหตุเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นผลมาจากภาวะ hyperlipidemia และ protein glycation product ที่มักพบในผู้ป่วยเบาหวานส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และ metabolism ของเซลล์ผิดปกติไป

              รู้แบบนี้แล้วเราควรสังเกตตัวเอง และมั่นตรวจสุขภาพอยู่เสมอนะครับ ไม่งั้นคุณอาจจะต้องอยู่กับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงพร้อมกับโรคภัยต่างๆเพิ่มขึ้นมาจากภาวะแทรกซ้อนนี้นะครับ ตรวจสุขภาพง่ายนิดเดียวยอมเสียเวลาซักนิด


#โรคเบาหวาน คืออะไร #โรคเบาหวานอันตรายไหม#ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน#เบาหวน#น้ำตาล#ทำไมคนเป็นเบาหวานแผลหายช้า#เบาหวาน ตาบอด ตามัว#
#โรคเบาหวาน คืออะไร #โรคเบาหวานอันตรายไหม#ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน#เบาหวน#น้ำตาล#ทำไมคนเป็นเบาหวานแผลหายช้า#เบาหวาน ตาบอด ตามัว#
#โรคเบาหวาน คืออะไร #โรคเบาหวานอันตรายไหม#ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน#เบาหวน#น้ำตาล#ทำไมคนเป็นเบาหวานแผลหายช้า#เบาหวาน ตาบอด ตามัว#
#โรคเบาหวาน คืออะไร #โรคเบาหวานอันตรายไหม#ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน#เบาหวน#น้ำตาล#ทำไมคนเป็นเบาหวานแผลหายช้า#เบาหวาน ตาบอด ตามัว#

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)             โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว (long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน             กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย (monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน (NH 3 ) หมู่คาร์บอกซิล (COO - ) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ท

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran