ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือดทำอย่างไร


การงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด (Fasting before blood tests)
          ในปัจจุบันการตรวจเลือดเป็นวิธีพื้นฐานทางการแพทย์ที่จะใช้ในการวินิจฉัย ประเมิน และติดตามการรักษาโรค ซึ่งในการตรวจเลือดบางรายการเช่น น้ำตาลและไขมันนั้น สารอาหารที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้ค่าการตรวจเลือดผิดพลาดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการงดน้ำ และอาหารข้ามคืนก่อนที่จะดำเนินการเจาะเลือดเพื่อตรวจในห้องปฏิบัติการ โดยคำถามที่มักพบสำหรับผู้ป่วยที่อาจไม่ทราบมาก่อนว่าต้องงดอย่างไร ระยะเวลาเท่าไหร่ ทำไมบางครั้งอดในระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน หรือบางครั้งไม่ต้องอดอาหารเลย ซึ่งทั้งหมดมีคำตอบให้ในบทความนี้ครับ

          วิธีปฏิบัติสำหรับการงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด
          การอด หรืองดอาหาร หมายถึงห้ามกินอาหารชนิดใด ๆ เลย รวมถึงลูกอม น้ำหวาน น้ำผลไม้ กาแฟ และอื่นๆ ที่มีรสชาติ สิ่งเดียวที่สามารถทานได้คือ น้ำเปล่า เท่านั้นครับ เพราะสารอาหารเหล่านี้จะไปรบกวนการตรวจ และอาจทำให้ผลการวิเคราะห์ผิดพลาดไป ส่งผลต่อการวินิจฉัย และการรักษาโดยตรงครับ เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติตามหลักการอย่างถูกต้องนะครับ

          ต้องงดน้ำ และอาหาร นานแค่ไหน?
          โดยปกติแล้วเรามักจะได้รับคำแนะนำในใบนัดของทางโรงพยาบาลว่าให้งดอาหารหลังเที่ยงคืน หรือข้ามคืนก่อนมาเจาะเลือดในตอนเช้า เนื่องจากคนไข้ส่วนมากนั้นไม่ได้เข้าใจ หรือไม่ได้มานั่งนับชั่วโมงตามที่หมอหรือพยาบาลแนะนำไว้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราควรงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 10 ชั่วโมงสำหรับการตรวจค่าน้ำตาลในเลือด (fasting blood sugar) และ 10-12 ชั่วโมงสำหรับการตรวจไขมันในเลือด (lipid profile) ดังนั้นเมื่อเราทราบระยะเวลาแล้วก็สามารถที่จะบริหารเวลาของเราให้ตรงตามต้องการ และเวลาที่จะเดินทางไปเจาะเลือดได้ดีขึ้นครับ

การตรวจเลือดใดบ้างที่ต้องอดอาหาร?
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเราจะงด 8-10 ชม. สำหรับการตรวจน้ำตาล และ 10-12 ชม. สำหรับการตรวจไขมันในเลือด (lipid profile) นอกจากสองตัวนี้แล้วไม่จำเป็นต้องทำการงดน้ำงดอาหารครับ เช่น การตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดต่างๆ ไวรัสเอชไอวี (HIV) และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ หรือการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การทำงานของไต และการทำงานของตับ 

ข้อควรระวัง
ในการตรวจเลือดทางการแพทย์มีการตรวจที่ค่อนข้างหลากหลายมากบางครั้งอาจมีรายการตรวจที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาจำเป็นต้องงดอาหารเช่นกัน แต่รายการเหล่านั้นมักจะได้รับการชักถามหรือแจ้งเตือนเป็นพิเศษอยู่แล้วครับ นอกจากนั้นการงดอาหารในผู้ป่วยในรายที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว หากต้องการตรวจสุขภาพด้วยตนเองควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เจ้าของไข้ก่อนทำการงดน้ำหรือ อาหารเพื่อที่จะทำการตรวจไขมัน หรือน้ำตาลนะครับ



เมื่อเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการงดน้ำ งดอาหารมากขั้น คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ สำหรับผู้มีแผนจะไปทำการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลด้วยตนเอง จะได้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปหลายรอบ หรือต้องรอให้ครบระยะเวลาก่อนเจาะเลือดครับ ขอบคุณครับ

#การงดน้ำและอาหาร#งดอาหารและน้ำก่อนเจาะเลือด#อดอาหารอย่างไรก่อนเจาะเลือด#ทำไมต้องอดอาหารและน้ำก่อนเจาะเลือด#ตรวจอะไรบ้างที่ต้องอดอาหารและน้ำ#อดอาหาร#อดน้ำ#ก่อนเจาะเลือด#อดอาหารนานเท่าไหร่#ระะเวลาที่ต้องอดอาหารและน้ำก่อนเจาะเลือด#เจาะเลือด#

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran