ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จบเทคนิคการแพทย์จะมีงานทำไหม?


  • เทคนิคการแพทย์ จบมาทำงานอะไร
  • เทคนิคการแพทย์ จะตกงานไหม
        สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะแอดมิชชันคงสงสัยนะครับว่า อาชีพเทคนิคการแพทย์ หรือคณะเทคนิคการแพทย์นี้คืออะไร ทำงานอย่างไร วันนี้เลยจะมาตอบคำถามเหล่านี้ให้ชัดเจนเลยนะครับสำหรับน้องๆ ที่กำลังจะตัดสินใจหรือลังเลที่จะเลือกเรียนเทคนิคการแพทย์

  1. เทคนิคการแพทย์ จบมาทำงานอะไร  สำหรับคำถามนี้เคยได้เขียนไว้ในบทความ หมอแล็ปคืออะไร? ไว้อย่างละเอียดแล้วนะครับ หากพูดโดยย่อๆ นักเทคนิคการแพทย์ก็คือ บุคคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานภานในห้องแล็ปของโรงพยาบาลนั่งเอง มีหน้าที่ค่อยรับสิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ หรือเนื้อเยื่อต่างๆ มมาทำการตรวจวิเคราะห์ เช่น การติดเชื้อ หรือ ระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด และในอนาคตอาจพัฒนาไปถึงขั้นตรวจในระดับสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอเลยนะครับ ซึ่งเริ่มมีบ้างแล้วในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หรือเอกชน
  2. เทคนิคการแพทย์ จะตกงานไหม?
      หากใครกังวลว่าอาชีพเทคนิคการแพทย์จบมาแล้วจะตกงาน หรือทำแล้วเบื่อเพราะต้องอยู่แต่ในห้องแล็ป จริงๆ แล้วนอกจาการทำงานในห้องแล็ปแล้ว นักเทคนิคการแพทย์ยังสามารถทำงานเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปณ์ทางห้องปฏิบัติการ หรือนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งใช้ความรู้มากเลยทีเดียว ไม่ใช่ขายของอย่างเดียว หรืออาชีพอื่นจะมาแย่งกันได้ง่ายๆครับ เพราะนอกจากขายแล้วเรายังต้องสามารถดูแลบำลุงเครื่องมือ คอยตอบคำถามเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล บางครั้งอาจเป็นหมอมาถามเอง โดยต้องอ้างอิงความรู้ที่ได้เรียนรู้มาเฉพาะเทคนิคการแพทย์เลยนะเออ ซึ่งจะเห็นได้ว่ายากที่ใครจะมาแย่งงานในจุดนี้ได้
          สำหรับงานในห้องแล็ปเอง ก็มีเยอะมากครับ ยิ่งโรงพยาบาลเอกชนมีจำนวนเพิ่มขึ้นสูงมากในปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจมีติดขัดแย่งงานกันบ้างในช่วงที่หลายๆ สถานบันจบกาศึกษา เพราะคนจบออกมาเยอะก็แข่งขันสูงเพื่อทำงานในโรงพยาบาลไกล้บ้าน หรือค่าตอบแทนสูง แต่หลังจากนั้นก็หาไม่ยากครับ
           เพิ่มเติมนิดนึงครับ ไม่ใช่แค่แล็ปโรงพยาบาลอย่างเดียวนะครับ เรายังสามารถทำงาานในคลินิคผู้มีบุตรยาก ทำเกี่ยวกับผสมตัวอ่อนได้ด้วยนะครับ ค่าตอบแทนค่อยข้างสูงเช่นกัน สุดท้ายนี้ก็หวังว่าบทความนี้อาจจะเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับน้องๆ ที่จะตัดสินใจในการเลือกเรียนเทคนิคกาแพทย์นะครับ ขอบคุณครับบบ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)             โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว (long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน             กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย (monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน (NH 3 ) หมู่คาร์บอกซิล (COO - ) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ท

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran