ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2014

เลือดของเราประกอบด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบของเลือด เลือดของเราประกอบด้วยอะไรบ้าง ส่วนประกอบของเลือด เลือดของเราประกอบด้วยอะไรบ้าง?            เลือดเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกายที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งเลือดสีแดง ๆ ของเรานั้นจะมีองค์ประกอบหลายส่วนมีทั้ง เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด นอกจากนั้นยังมีสารชีวโมเลกุล เช่นน้ำตาล ไขมัน ร่วมถึงฮอร์โมน และออกซิเจน ซึ่งสารเหล่านี้ถูกส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านทางระบบหลอดเลือด และเลือดทั้งนั้นครับ โดยในวันนี้เราจะเน้นในองค์ประกอบส่วนทางด้าน hematology คือพวกเม็ดเลือดและองค์ประกอบหลัก ๆ เท่านั้น ซึ่งเลือดของเรานั้นมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนครับดังนี้ ส่วนที่เป็นของเหลว (Plasma)  คิดเป็นร้อยละ 55 ขององค์ประกอบทั้งหมด โดยมีน้ำเป็นองค์ประกอบหลักถึง 95% ที่เหลือเป็นสารอาหาร แก๊ส เอนไซม์ต่างๆ หน้าที่คือ ลำเลียงอาหารไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกาย และนำของเสียไปยังอวัยวะขับถ่าย ส่วนที่เป็นเซลล์  คิดเป็นร้อยละ 45 ขององค์ประกอบทั้งหมด ประกอบไปด้วย เม็ดเลือดแดง  เม็ดเลือดขาว และ เกร็ดเลือด เม็ดเลือดแดง (red blood cells) : ภายในเม็ดเลือดแดงจะมีฮีโมโกบิน(hemoglo

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

การฟอกไตสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มีกี่วิธี?

การฟอกไตมีกี่วิธี?  ทำแบบไหนดีกว่ากัน?  ค่าใช้จ่ายในการฟอกไต?        การฟอกไต หรือการฟอกของเสียออกจากเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำของไตเสื่อมสรรถภาพทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง ซื้อการฟอกไตสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการฟอกผ่านเส้นเลือด หรือผ่านทางช่องท้อง สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นผู้ป่วยโรคไตที่กำลังจะต้องรับการรักษาโรคไตเรื้อรังคงกำลังมองหาวิธี ผลการรักษา และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการฟอกไต วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับวิธีการฟอกไต 2 วิธีหลัก ๆ ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันกันครับ การฟอกไต คืออะไร?        การฟอกไตคือ การนำเอาของเสียต่าง ๆ และน้ำส่วนเกินที่สะสมในร่างกาย ที่เกิดจากภาวะไตวายจนไม่สามารถกำจัดออกออกเสียเหล่านั้นออกไปได้ ซึ่งเมื่อผู้ป่วยได้รับการฟอกไตแล้วก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เพียงแต่ต้องทำการฟอกไตเพื่อทดแทนการทำงานของไตอยู่เป็นประจำครับ     การฟอกไตมีกี่วิธี?       ปัจจุบันวิธีการฟอกไตที่ใช้ทั่วไปในโรงพยาบาลของประเทศไทยจะมี 2 วิธีดังนี้ครับ             การฟอกผ่านทางช่องท้องแบบถาวร   Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD)              

บทบาทหน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาล ต้องทำงานอะไรบ้าง!

        บทบาทหน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลจะถูกแบ่งจำแนกเป็นหลาย ๆ หน่วยด้วยกันครับซึ่งก็เพื่อให้การทำงานของกลุ่มงานของนักเทคนิคการแพทย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเมื่อเราเข้าไปทำงานแล้วก็ขึ้นอยู่กับว่าเราสมัครเข้ามาในตำแหน่งไหน หรือว่าตำแหน่งไหนว่าง  แต่โดยรวมแล้วเราต้องสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งหมดนะครับ เพียงแต่ในส่วนลึกหรือความรับผิดชอบ การจัดระเบียบเราก็จะรับผิดชอบเป็นหน่อยงานไป แบ่งเป็น (คร่าวๆนะครับ แต่ละ รพ. ก็จะมีการจัดที่แตกต่างกันออกไป) 1. งานด่านหน้า หรือ หน่วยงานผู้ป่วยนอก(OPD)           ทำหน้าที่เกี่ยวกับจัดการกับสิ่งส่งตรวจ เช่น เจาะเลือด แนะนำผู้ป่วยในการเป็นปัสสาวะ ลงทะเบียนผู้ป่วย เป็นต้นครับ  หลักๆที่นักเทคนิคการแพทย์ทำงานในส่วนนี้จะเป็นการเจาะเลือดของผู้ป่วยและแนะนำการเก็บปัสสาวะครับ นอกจากนั้นยังคอยกำกับดูแลการทำงานของผู้ช่วยในการเจาะเลือดครับตามตัวกฏหมายกำหนดให้ เทคนิคการแพทย์ควบคุมดูแลการทำงานของผู้ช่วยเทคนิคการแพทย์เพราะเป็นผู้ที่มีใบประกอบโรคศิลป์นั่นเอง การลงทะเบียนจัดการเอกสารจะมีเจ้าหน้าที่ธุระการต่างหากครับ 2. ห้องปฏิบัติการกลาง (Central L