ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาวะไขมันในเลือดสูง (hyperlipidemia) กับความเสี่ยงโรคหัวใจและเส้นเลือดตีบตัน


       ปัจจุบันไขมันเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจ (heart disease) โดยในการตรวจสุขภาพประจำปีก็มักจะมีการตรวจไขมันร่วมด้วยทุกครั้ง เราคงคุ้นเคยกับ cholesterol เป็นอย่างดี แต่บางท่านเมื่อไปตรวจสุขภาพ หรืออ่านเจอในบทความต่างๆ คงได้ยินคำว่า ไขมันดี หรือ HDL-c และไขมันเสีย หรือ LDL-c มาบ้าง วันนี้เลยจะมากล่าวถึงชนิดของไขมัน และความเสี่ยงเมื่อมีไขมันในเลือดสูงกันครับ

       ไขมัน (lipid) เป็นสารชีวโมเลกุลชนิดหนึ่งที่สำคัญอย่างมากในร่างกายเรา ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ในร่างกาย และกักเก็บเป็นแหล่งพลังงานสำรองของร่างกาย ไขมันถือเป็นสารชีวโมเลกุลสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้เลยทีเดียว ไขมันกลุ่มที่สำคัญที่ใช้ในการบ่งชี้ทางการแพทย์คือไขมันกลุ่มที่อยู่ในเลือดของเรา โดยไขมันในเลือดที่มีปริมาณมากเกินไปย่อมส่งผลเกิดการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือดจนเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และมีความเสี่ยงของโรคหัวใจ  โดยไขมันในเลือดที่ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดทางการแพทย์ก็จะมีอยู่ 4 ได้แก่ คลอเลสเตอรอล (cholesterol)  ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ไขมันเสีย (LDL-cholesterol) และ ไขมันดี (HDL-cholesterol)

http://medicinabih.info/en/elevated-blood-lipids.html


       การตรวจระดับไขมันในเลือดถูกนำไปใช้เป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้นในการทำนายความเสี่ยงของโรคหัวใจ (heart disease) และโรคสมองขาดเลือดจากการอุดตัน หรือตีบตันของเส้นเลือด (stroke) โดยมักจะตรวจอยู่ในรายการ lipid profile ที่มีประกอบไขมัน 4 รายการดังนี้

  1. คลอเลสเตอรอลรวม (total cholesterol)  เป็นตัวบ่งชี้ระดับคลอเลสเตอรอลโดยรวม ทั้ง HDL-c และ LDL-c และยังรวมถึง triglyceride ภายในเลือด โดยมีค่าปกติไม่ควรเกิน 200 mg/dl 
  2. ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย ปกติจะตรวจควบคู่กับไขมันตัวอื่น ๆ ค่าปกติไม่ควรเกิน 150 mg/dl
  3. Low-density lipoprotein (LDL-cholesterol) เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยไขมัน และโปรตีนทำหน้าที่เป็นตัวพาคลอเลสเตอรอลในเลือด เรามักเรียกไขมันชนิดนี้ว่า ไขมันเสีย (bad) เพราะเมื่อไขมันชนิดนี้มีมากเกินไปในหลอดเลือดจะทำให้เกิดการสะสมจนเกิดการอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบตัน โดยมีค่าปกติไม่ควรเกิน 100 mg/dl
  4. High-density lipoprotein (HDL-cholesterol) เป็นโมเลกุลที่ทำหน้าที่ดูดซับคลอเลสเตอรอล และนำกลับสู่ตับซึ่งเป็นศูยน์กลางเมทาบอลิซึมของไขมัน หรือพูดง่ายๆ ก็คือคอยทำหน้าที่กำจัดคลอเลสเตอรอลออกจากเลือดของเรา ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด เราจึงนิยมเรียกว่า ไขมันดี ค่าปกติคือยิ่งสูงยิ่งดี  แต่ถ้าต่ำกว่า 40 mg/dl จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

ไขมันในเลือด การตรวจไขมันในเลือด คลอเลสเตอรอลในเลือด ไขมันกับโรคหัวใจ ตรวจไขมันในเลือด
คลอเลสเตอรอลสูง คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)             โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว (long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน             กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย (monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน (NH 3 ) หมู่คาร์บอกซิล (COO - ) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ท

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran