ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ (Liver function test)

   
     ตับ (liver) เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในร่างกายมีหน้าที่ในการกำจัดสารพิษที่อันรายต่อร่างกาย รวมถึงยาต่าง ๆ ที่ร่างกายได้รับส่วนเกินก็จะถูกกำจัดออกโดยตับ นอกจากนั้นตับยังมีหน้าที่ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการสังเคราะห์โปรตีน เอนไซม์ หรือไขมัน

     การตรวจการทำงานของตับ หรือ Liver function test คือการตรวจเพื่อ ตรวจวินิจฉัย ประเมิณ หรือติดตามการรักษาโรคตับ (liver diseases) หรือการอักเสบของเนื้อเยื่อตับจากปัจจัยต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ พิษสุราเรื้อรัง และการได้รับยาอย่างต่อเนื่องในปริมาณมาก ๆ ซึ่งการตรวจก็สามารถตรวจได้จากเจาะเลือดตรวจสารบ่งชี้ความผิดปกติ เพื่อประเมิณเบื้องต้นได้ โดยในการตรวจกลุ่มนี้ก็จะประกอบด้วยสารบ่งชี้หลายชนิดด้วยกัน ได้แก่

1. Alanine aminotransferase (ALT)
      ALT หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Serum Glutamic Pyruvic Transaminase (SGPT) เป็นเอนไซม์ตัวหลักที่พบได้ในตับ ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติของตับจึงทำให้สามารถตรวจพบ ALT สูงขึ้นมากกว่าปกติในเลือดได้ และ ALT ถือเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีสำหรับการตรวจประเมิณการอักเสบของตับ (hepatitis)

      ค่าปกติ : 0 - 48 U/L
      ค่าสูง พบใน โรคตับ หรือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus) จะสูงถึง 40 เท่า

2. Aspartate aminotransferase (AST)
       AST หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Serum Glutamic Oxalocetic Transaminase (SGOT) เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในตับเช่นเดียวกับ ALT แต่ AST มีความจำเพาะต่อตับน้อยกว่า ALT เนื่องมาจาก AST เป็นเอนไซม์ที่ยังสามารถพบได้ในอวัยวะอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น หัวใจ หรือกล้ามเนื่อลาย โดยปกติมักตรวจคู่กับ ALT เพื่อประเมิณการทำงานของตับเบื้องต้น

      ค่าปกติ: 0 - 42 U/L
      ค่าสูง พบใน ภายหลังภาวะ Heart Attack , โรคตับ, โรคการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ


3. Alkaline phosphatase (ALP)
      ALP เป็นเอนไซม์ที่พบได้มากในเซลล์เยื่อบุผิวของท่อน้ำดีที่อยู่ในตับ ดังนั้นเมื่อเกิดการอุดตันท่อน้ำดีก็จะทำให้เกิดการอักเสบเซลล์เยื่อบุผิวของท่อน้ำดีและทำให้ ALP นั้นถูกปล่อยออกมามากทำให้เราสามารถตรวจพบ ALP เพิ่มสูงขึ้นในกระแสเลือดได้นั่นเอง อย่างไรก็ตามในกระดูกก็พบว่ามีการสร้าง ALP ออกมาได้เช่นกัน

      ค่าปกติ : 20 - 125 U/L     ค่าสูง  เป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะการอุดตันของท่อน้ำดี 
     ค่าต่ำ  เป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะขาดโปรตีน ขาดอาหาร ขาดวิตามิน

4. Albumin     albumin เป็นโปรตีนส่วนใหญ่ที่พบในกระแสเลือด ถูกสร้างมาจากตับ โดยปกติแล้ว albumin ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมแรงดันออสโมติกของเลือด และทำหน้าที่เป็นโปรตีนตัวพา (carrier) ของสารโมเลกุลที่ไม่ชอบละลายในน้ำ เช่น steroid hormone ซึ่งจะทำให้ hormone เหล่านั้นละลายในน้ำและไหลไปตามกระแสเลือดสู่อวัยวะเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     ค่าปกติ: 3.2 - 5.0 g/dl     ค่าต่ำ แสดงถึง ภาวะขาดอาหาร ท้องเสีย ไข้ ติดเชื้อ โรคตับ ขาดสารอาหารประเภทเหล็ก


5. Albumin/Globulin Ratio (A/G ratio)
      A/G ratio เป็นอัตราส่วนของโปรตีน 2 ชนิดที่สำคัญที่อยู่ในเส้นเลือด ได้แก่ Albumin ต่อ Globulin ซึ่งทั้งสองตัวถูกสร้างโดยตับ ดังนั้นเมื่ออัตราส่วนของทั้งสองโปรตีนผิดปกติไปบ่งบอกถึงภาวะการทำงานของตับผิดปกติได้ หรือภาวะการติดเชื้อบางชนิด บางครั้งก็ตรวจในรายการ total protein (TP) ไปเลยก็ได้ครับ

     ค่าปกติ : 0.8 - 2.0
     ค่าต่ำ พบได้ในโรคที่เกี่ยวข้องกับตับ ไต และการติดเชื้อบางชนิด
     ค่าสูง เกินไปไม่มีความสำคัญมากนัก

6. Bilirubin
     Bilirubin เป็นสารที่เกิดจากขบวนการสลายฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุหรือเม็ดเลือดแดงที่แตกสลายจากภาวะบางอย่าง โดยขบวนการนี้เกิดขึ้นที่ม้าม หลังจากนั้น bilirubin จะถูกส่งมาที่ตับและตับจะขับสารนี้ออกจากเลือดทางน้ำดี ซึ่ง bilirubin เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงภาวะการทำงานของตับได้เช่นกัน

     ค่าปกติ : 0 - 1.3 mg/dl
     ค่าสูง การทำงานของตับผิดปกติเช่น ตับอักเสบ ภาวะตับล้มเหลว และท่อน้ำดีอุดตับทำให้ตับไม่สามารถกำจัด bilurubin ออกจากร่างกายได้ หรือภาวะเลือดถูกทำลายมากเกินไปตับไม่สามารถกำจัดออกได้ทันนั่นเอง

     สำหรับการตรวจหลักที่ใช้ทั่วไปในการวินิจฉัยการทำงานของตับด้วยการตรวจทางเลือดก็มีดังที่กล่าวไปข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีการทดสอบอื่น ๆ อีกที่ใช้ในการวินิจฉัย ขึ้นอยู่กับสภาพ และการตัดสินใจของแพทย์ผู้ตรวจครับ สุดท้ายนี้อย่าลืมนะครับว่าผลเลือดที่ได้ควรให้แพทย์ผู้ทำการรักษาแปลผลร่วมกับอาการเพื่อทำการวินิจฉัยถึงสาเหตุของความผิดปกติที่พบในเลือด เราไม่สามารถแปลผลได้เองจากเลือดครับ เพราะอาจผิดพลาดได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าส...

DNA ตอนที่ 1 : DNA คืออะไร และโครงสร้างของ DNA

สารพันธุกรรม (genetic materials) ห มายถึงสารที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งสิ่งมีชีวิตระดับโปรคาริโอต (prokaryote) และยูคาริโอต (eukaryote) โดยสารพันธุกรรมประกอบด้วย ดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid หรือ DNA) และอาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid หรือ RNA) การเก็บรักษาข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการเรียงลำดับของหน่อยย่อยที่สุดของ DNA และ RNA อย่างเป็นระเบียบและมีความหมาย ซึ่งหน่อยย่อยของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอเราเรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) สิ่งมีชีวิตจะทำการแปลรหัสข้อมูลนิวคลีโอไทด์เหล่านี้ออกมาเป็นโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ของเซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อไปผ่านการทำงานร่วมกันตั้งแต่ DNA RNA ไปจนถึงขั้นตอนการสั่งเคราะห์โปรตีน อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางประเภทจะเก็บข้อมูลพื้นฐานของตัวเองในรูปแบบของ RNA เท่านั้น เช่นไวรัสในกลุ่มรีโทรไวรัส หรือที่เรารู้จักกันดีก็คือไวรัสโควิด ภาพที่ 1 แสดงโครงสร้างจำลองของ DNA ที่มาภาพ : http://becuo.com/red-dna-wallpaper   DNA (deoxyribonucleic acid )                  D...

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพั...