ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตรวจเลือดดูการทำงานของไต (Renal Function Test)

From : Wikimedia Commons
       ไต เป็นอวัยวะมีหน้าที่หลักในการกรองของเสีย และรักษาดุลยภาพของสารในร่างกายตัวอย่างเช่น เกลือแร่ (โซเดียม และโพแทสเซียม) ความผิดปกติของไตจะส่งผลให้การทำหน้าที่หลักของไตลดลงตั้งแต่ระดับเบื้องต้น เสื่อมสภาพเรื้อรัง จนถึงการวายของไตอย่างเฉียบพลัน ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้จะส่งผลต่อค่าสารในร่างกายทำให้มีระดับที่สูง หรือต่ำกว่าปกติ 
       ในปัจจุบันการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมิณการทำงานของไตก็ได้แก่การตรวจเลือดหาค่า BUN, Creatinine และ Glomerular filtration rate (GFR) และการตรวจปัสสาวะ(Urine analysis)


1. Blood Urea Nitrogen (BUN)
     BUN เป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย และจะถูกกำจัดออกจากร่างกายผ่านทางไต เมื่อปริมาณ BUN ในเลือดสูงขึ้นอาจเปิดจากการกำจัดสารออกจากร่างกายได้ไม่ดี หรือการทำงานของไตมีปัญหานั่นเอง 

     ค่าปกติ : 7 - 25 mg/dl    
    ค่าสูง   การทำงานของไตผิดปกติ หรือการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป  หรือยาบางชนิด
     ค่าต่ำ   บ่งชี้ว่าขาดอาหาร การดูดซึมอาหารไม่ดี ตับเสีย

2. Creatinine
      Creatinine เป็นของเสียที่เกิดจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และสามารถพบได้ในเลือดซึ่งจะถูกขับออกทางไต เมื่อการทำงานของไตผิดปกติก็จะส่งผลต่อการกำจัด creatinine ในเลือดด้วย ทำให้ระดับของ creatinine ผิดปกติไป จึงใช้ค่านี้บ่งชี้ภาวะการทำงานของไตได้

    ค่าปกติ : 0.7 - 1.4 mg/dl
    ค่าสูง  สูงควบคู่ BUN บ่งบอกถึงการทำงานของไตที่เสื่อมสภาพจากภาวะบางอย่าง
    ค่าต่ำ  พบได้ใน โรคไต โรคตับ

3. Estimated Glomerular Filtration Rate (eGFR)
      GFR  เป็นค่าประมาณอัตราการกรอวของเสียของไต โดยทำการคำนวณจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ผลการตรวจระดับ creatinine อายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง ออกมาเป็นตัวเลข โดยมีค่าปกติประมาณ 90-120  หากพบว่ามีค่า GFR ต่ำกว่า  60 อาจบ่งบอกถึงอาการแรกเริ่ทของโรคไตได้ครับ

4. Urine Analysis for Albumin
      Albumin เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในร่างกายของเรา และสามารถพบได้ในระบบเลือด เมื่อมีการหลุด หรือพบโปรตีนในปัสสาวะปริมาณมาก อาจบ่งบอกถึงอัตราการกรองของไตที่เริ่มเสื่อมลงได้ครับ  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)             โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว (long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน             กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย (monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน (NH 3 ) หมู่คาร์บอกซิล (COO - ) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ท

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran