ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตรวจน้ำตาลปลายนิ้วคืออะไร และวิธีการทำด้วยตนเองทำอย่างไร


การตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว คืออะไร
       การตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว คือ การวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เรียกว่า glucometer หรือ เครื่องตรวจน้ำตาลชนิดพกพา โดยใช้เลือดเพียงหยอดเดียวจากการเจาะที่ปลายนิ้วครับ โดยวิธีนี้เราสามารถทำการตรวจได้ด้วยตนเองที่บ้านเพียงแค่มีชุดอุปกรณ์ glucometer ที่ในปัจจุบันเราสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือร้านขายยาทั่วไป ราคาเริ่มตั้งแต่พันต้น ๆ ครับ

ตรวจน้ำตาลปลายนิ้วมีประโยชน์อย่างไร ?
       วิธีการตรวจน้ำตาลปลายนิ้วถูกพัฒนาจนมีความแม่นยำ และน่าเชื่อถือสูงไกล้เคียงกับการตรวจโดยห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เลยทีเดียวครับ ซึ่งประโยชน์ของการตรวจน้ำตาลปลายนิ้วจริง ๆ คือความสะดวก และสามารถทำได้ด้วยตนเอง หรือตัวผู้ป่วยเองที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นการรับประทานอาหาร หรือ การฉีดฮอร์โมนอินซูลิน นอกจากผู้ป่วยเบาหวานแล้ว ผู้ที่พบว่ามีอาการผิดปกติจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และสูงอยู่บ่อยครั้ง ก็สามารถใช้วิธีการเจาะตรวจน้ำตาลปลายนิ้วเพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของตนได้ ณ เวลานั้นเพื่อรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วยครับ

วิธีการตรวจน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเอง
       สำหรับวิธีการตรวจน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองมีขั้นตอนดังนี้ครับ
1. ทำความสะอาดบริเวณปลายนิ้วที่จะทำการเจาะเลือดสำหรับตรวจด้วย 70% แอลกอร์ฮอล รอให้แห้ง
2. ทำการสะกิดบริเวณปลายนิ้วที่ทำความสะอาดแล้วด้วยเข็ม หรอือาจใช้ตัวเจาะปลายนิ้วเฉพาะที่ได้มาจากเครื่องก็ได้ครับ
3  ทำการบีบเลือดออกมา และเช็ดเลือดหยดแรกทิ้งไปด้วยสำลีสะอาด จากนั้นจึงบีบเลือดหยดที่สอง
4. ทำการหยดเลือดลงในช่องของแผ่นตรวจ (strip) จากนั้นรอให้เครื่อง glucometer อ่านค่าน้ำตาล ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
5. ใช้สำลีวางไว้บนลอยแผลแล้วกดไว้สัก 3-5 นาทีเพื่อให้แผลปิดสนิท




ปล. การเตรียมเครื่อง glucometer ทำโดยการเสียบแผ่นตรวจเข้ากับตัวเครื่อง ทิ้งไว้สัก 5 วินาทีจนเครื่องขึ้นสัญญานให้เราหยดเลือดลงในแผ่นได้ครับ

ปล2. เครื่อง glucometer เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์เช่นเดียวกับที่ใช้ในห้องแล็บของ รพ. จึงจำเป็นต้องมีการตรวจเช็คสภาพเครื่องอยู่เสมอด้วยครับ จึงจะได้ค่าที่มีความถูกต้องแม่นยำ ควรปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งคลัดนะครับ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

        หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)

โครงสร้างโปรตีน (Protein structure)             โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนเกิดจากหน่วยย่อยกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักพันหน่วยมาต่อกันเกิดเป็นสายยาว (long chains) เรียกว่า polypeptide ซึ่งในสายหรือระหว่างสายของ polypeptide เองก็จะเกิดพันธะทางเคมีขึ้นได้ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปและทำให้โปรตีนเองมีคุณสมบัติที่หลากหลายและโครงสร้างซับซ้อน             กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อย (monomer) ของโปรตีนซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด โครงสร้างของกรดอะมิโนประกอบด้วย หมู่อะมิโน (NH 3 ) หมู่คาร์บอกซิล (COO - ) และหมู่ R หรือ side chain ที่จับอยู่กับ alpha carbon โดยกรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างเหมือนกันจะแตกต่างกันเพียงแค่หมู่ R เท่านั้น กรดอะมิโนแต่ละตัวจะมีเชื่อมต่อกันโดยพันธะเพปไทด์ (peptide bond) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโน ดังนั้นสิ่งที่กำหนดคุณสมบัติของโปรตีน หน้าที่ของโปรตีน และโครงสร้างของโปรตีนก็คือ ชนิดของกรดอะมิโนในสายโปรตีน หรือหมู่ R ที่ตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโน และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสายโปนตีนที่ท

ความแตกต่างระหว่าง Leukemoid Reaction และ Chronic myeloid leukemia (CML)

***แก้ไขหน่วยในภาพ cell/ml เป็น cell/ul Leukemoid Reaction (LR) คือ ภาวะหนึ่งที่ร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมาในปริมาณมาก (>50,000 cell/ul) เพื่อตอบสนองต่อ ภาวะความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง (severe infection)  เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติจำนวนมากจะเป็น mature cells  แต่ก็อาจพบเม็ดเลือดขาวระยะตัวอ่อนได้บ้างซึ่งการที่เราพบเม็ดเลือดตัวอ่อนในเลือดจะเรียกว่า Shift to the left  โดยเมื่อส่องดูเสมียร์เลือด (blood smear) ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic myeloid leukemia (CML) แต่ก็มีลักษณะที่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้ครับโดยการวินิจฉัย LR นั้นจะเป็น exclusion criteria ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว CML เช่น ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และชนิดของเม็ดเลือดขาวตัวเต็มวัย หรือการเพิ่มขึ้นของค่า  Leukocyte alkaline phosphatase (LAP)  ใน LR Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในสาย myeloid ชนิดเรื้องรัง โดยผู้ป่วย CML ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกลายพันธ์ (mutation) ชนิด tran