ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

หลอดใส่เลือดมี่กี่ชนิด (tube เลือดมี่กี่ชนิด)

โพสต์ล่าสุด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2 virus)

โรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด (COVID-19) คือ โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ โคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ Severe Acute Respiratory Syndrome-Coronavirus-2 ( SARS-CoV-2 ) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในกลุ่มไวรัสโคโรนา ที่สามารถก่อโรคได้ตั้งแต่ไข้หวัดที่มีอาการธรรมดาไปจนถึงอาการรุนแรง ตัวอย่างของไวรัสในกลุ่มโคโรนาได้แก่   Middle East Respiratory Syndrome หรือ MERS-CoV ที่เคยระบาดในไทยก่อนหน้านี้  และ  Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS-CoV) ที่เป็นสายพันธุ์ที่มีมาก่อน  https://www.who.int/health-topics/coronavirus ความรุนแรงของโรคติดเชื้อโควิด (COVID-19)  ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการทางระบบทางเดินหายใจตั้งแต่อาการน้อยจนถึงปานกลาง และสามารถหายได้เองโดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการรักษาแบบพิเศษ อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะมีอาการที่รุนแรงและจำเป็นต้องดูแลรักษาอย่างไกล้ชิด ได้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือโรคอื่นๆ ที่มีแนวโน้มจะแสดงอาการที่รุ่นแรง ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่

ไวรัสตับอักเสบบี และการตรวจหาเชื้อและภูมิต่อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B blood tests)

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)      ไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ตับชนิดรุนแรงที่พบบ่อยที่สุดในโลกโดยมากกว่า 2 พันล้านคนหรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลกมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และในทุกปีมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสูงถึง 1 ล้านคนถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะมีวิธีป้องกันและรักษาการติดเชื้อไวรัสนี้แล้วก็ตาม การระบาดของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะเป็นในลักษณะ silent epidemic เพราะคนส่วนจะไม่แสดงอาการผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อ หรือมีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง (chronically infected) ทำให้คนกลุ่มนี้มีการแพร่เชื้อไปสุ่คนอื่นโดยที่ไม่รู้ตัว      ไวรัสตับอักเสบบีเป็นไวรัสที่ติดต่อผ่านทางเลือด และสารคัดหลั่งต่าง ๆ (body fluids) ซึ่งเกิดจากความเสี่ยงจากการสัมผัสเลือด การมีเพศสัมพันธุ์แบบไม่ป้องกัน การใช้สารเสพติดผ่านเข็มที่ไม่สะอาดหรือมีการใช้ซ้ำ และยังสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ตอนตั้งครรภ์ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามไวรัสตับอักเสบบีนั้นมีวิธีป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนในผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน ซึ่งในปัจจุบันเราใช้วิธีการตรวจเลือด (blood test) เพื่อวินิจฉัยว่าในตัวเรามีเชื้อหรือเคยได้รับเชื้อ

การตรวจน้ำตาลปลายนิ้วคืออะไร และวิธีการทำด้วยตนเองทำอย่างไร

การตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว คืออะไร        การตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว คือ การวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เรียกว่า glucometer หรือ เครื่องตรวจน้ำตาลชนิดพกพา โดยใช้เลือดเพียงหยอดเดียวจากการเจาะที่ปลายนิ้วครับ โดยวิธีนี้เราสามารถทำการตรวจได้ด้วยตนเองที่บ้านเพียงแค่มีชุดอุปกรณ์ glucometer ที่ในปัจจุบันเราสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือร้านขายยาทั่วไป ราคาเริ่มตั้งแต่พันต้น ๆ ครับ ตรวจน้ำตาลปลายนิ้วมีประโยชน์อย่างไร ?        วิธีการตรวจน้ำตาลปลายนิ้วถูกพัฒนาจนมีความแม่นยำ และน่าเชื่อถือสูงไกล้เคียงกับการตรวจโดยห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เลยทีเดียวครับ ซึ่งประโยชน์ของการตรวจน้ำตาลปลายนิ้วจริง ๆ คือความสะดวก และสามารถทำได้ด้วยตนเอง หรือตัวผู้ป่วยเองที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นการรับประทานอาหาร หรือ การฉีดฮอร์โมนอินซูลิน นอกจากผู้ป่วยเบาหวานแล้ว ผู้ที่พบว่ามีอาการผิดปกติจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และสูงอยู่บ่อยครั้ง ก็สามารถใช้วิธีการเจาะตรวจน้ำตาลปลายนิ้วเพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของตนได้ ณ เวลานั้นเพ

การตรวจเลือดดูการทำงานของไต (Renal Function Test)

From : Wikimedia Commons        ไต เป็นอวัยวะมีหน้าที่หลักในการกรองของเสีย และรักษาดุลยภาพของสารในร่างกายตัวอย่างเช่น เกลือแร่ (โซเดียม และโพแทสเซียม) ความผิดปกติของไตจะส่งผลให้การทำหน้าที่หลักของไตลดลงตั้งแต่ระดับเบื้องต้น เสื่อมสภาพเรื้อรัง จนถึงการวายของไตอย่างเฉียบพลัน ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้จะส่งผลต่อค่าสารในร่างกายทำให้มีระดับที่สูง หรือต่ำกว่าปกติ         ในปัจจุบันการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมิณการทำงานของไตก็ได้แก่การตรวจเลือดหาค่า BUN, Creatinine และ Glomerular filtration rate (GFR) และการตรวจปัสสาวะ(Urine analysis) 1. Blood Urea Nitrogen (BUN)      BUN เป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย และจะถูกกำจัดออกจากร่างกายผ่านทางไต เมื่อปริมาณ BUN ในเลือดสูงขึ้นอาจเปิดจากการกำจัดสารออกจากร่างกายได้ไม่ดี หรือการทำงานของไตมีปัญหานั่นเอง        ค่าปกติ  : 7 - 25 mg/dl           ค่าสูง      การทำงานของไตผิดปกติ หรือการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป  หรือยาบางชนิด       ค่าต่ำ     บ่งชี้ว่าขาดอาหาร การดูดซึมอาหารไม่ดี ตับเสีย 2.  Creatinine       Creati

การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ (Liver function test)

         ตับ (liver) เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในร่างกายมีหน้าที่ในการกำจัดสารพิษที่อันรายต่อร่างกาย รวมถึงยาต่าง ๆ ที่ร่างกายได้รับส่วนเกินก็จะถูกกำจัดออกโดยตับ นอกจากนั้นตับยังมีหน้าที่ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการสังเคราะห์โปรตีน เอนไซม์ หรือไขมัน      การตรวจการทำงานของตับ หรือ Liver function test คือการตรวจเพื่อ ตรวจวินิจฉัย ประเมิณ หรือติดตามการรักษาโรคตับ (liver diseases) หรือการอักเสบของเนื้อเยื่อตับจากปัจจัยต่างๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ พิษสุราเรื้อรัง และการได้รับยาอย่างต่อเนื่องในปริมาณมาก ๆ ซึ่งการตรวจก็สามารถตรวจได้จากเจาะเลือดตรวจสารบ่งชี้ความผิดปกติ เพื่อประเมิณเบื้องต้นได้ โดยในการตรวจกลุ่มนี้ก็จะประกอบด้วยสารบ่งชี้หลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ 1. Alanine aminotransferase (ALT)       ALT หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Serum Glutamic Pyruvic Transaminase (SGPT) เป็นเอนไซม์ตัวหลักที่พบได้ในตับ ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติของตับจึงทำให้สามารถตรวจพบ ALT สูงขึ้นมากกว่าปกติในเลือดได้ และ ALT ถือเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีสำหรับการตรวจประเมิณการอักเสบของตับ (hepatitis)       ค่าปกติ : 0 - 48 U/L

ภาวะไขมันในเลือดสูง (hyperlipidemia) กับความเสี่ยงโรคหัวใจและเส้นเลือดตีบตัน

       ปัจจุบันไขมันเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจ (heart disease) โดยในการตรวจสุขภาพประจำปีก็มักจะมีการตรวจไขมันร่วมด้วยทุกครั้ง เราคงคุ้นเคยกับ cholesterol เป็นอย่างดี แต่บางท่านเมื่อไปตรวจสุขภาพ หรืออ่านเจอในบทความต่างๆ คงได้ยินคำว่า ไขมันดี หรือ HDL-c และไขมันเสีย หรือ LDL-c มาบ้าง วันนี้เลยจะมากล่าวถึงชนิดของไขมัน และความเสี่ยงเมื่อมีไขมันในเลือดสูงกันครับ        ไขมัน (lipid) เป็นสารชีวโมเลกุลชนิดหนึ่งที่สำคัญอย่างมากในร่างกายเรา ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ในร่างกาย และกักเก็บเป็นแหล่งพลังงานสำรองของร่างกาย ไขมันถือเป็นสารชีวโมเลกุลสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้เลยทีเดียว ไขมันกลุ่มที่สำคัญที่ใช้ในการบ่งชี้ทางการแพทย์คือไขมันกลุ่มที่อยู่ในเลือดของเรา โดยไขมันในเลือดที่มีปริมาณมากเกินไปย่อมส่งผลเกิดการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือดจนเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และมีความเสี่ยงของโรคหัวใจ  โดยไขมันในเลือดที่ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดทางการแพทย์ก็จะมีอยู่ 4 ได้แก่ คลอเลสเตอรอล (cholesterol)  ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ไขมันเสีย (LDL-cholesterol) และ ไขมันดี (HDL-cholestero

การงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือดทำอย่างไร

การงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด (Fasting before blood tests)           ในปัจจุบันการตรวจเลือดเป็นวิธีพื้นฐานทางการแพทย์ที่จะใช้ในการวินิจฉัย ประเมิน และติดตามการรักษาโรค   ซึ่งในการตรวจเลือดบางรายการเช่น น้ำตาลและไขมันนั้น สารอาหารที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้ค่าการตรวจเลือดผิดพลาดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการงดน้ำ และอาหารข้ามคืนก่อนที่จะดำเนินการเจาะเลือดเพื่อตรวจในห้องปฏิบัติการ   โดยคำถามที่มักพบสำหรับผู้ป่วยที่อาจไม่ทราบมาก่อนว่าต้องงดอย่างไร ระยะเวลาเท่าไหร่ ทำไมบางครั้งอดในระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน หรือบางครั้งไม่ต้องอดอาหารเลย ซึ่งทั้งหมดมีคำตอบให้ในบทความนี้ครับ           วิธีปฏิบัติสำหรับการงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด           การอด หรืองดอาหาร หมายถึงห้ามกินอาหารชนิดใด ๆ เลย รวมถึงลูกอม น้ำหวาน น้ำผลไม้ กาแฟ และอื่นๆ ที่มีรสชาติ สิ่งเดียวที่สามารถทานได้คือ น้ำเปล่า เท่านั้นครับ เพราะสารอาหารเหล่านี้จะไปรบกวนการตรวจ และอาจทำให้ผลการวิเคราะห์ผิดพลาดไป ส่งผลต่อการวินิจฉัย และการรักษาโดยตรงครับ เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติตามหลักการอย่างถูกต้องนะค